Wednesday, November 26, 2008

E85 ต้องพัฒนาไปพร้อมไบโอดีเซล

E85 ต้องพัฒนาไปพร้อมไบโอดีเซล

ทุก ครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพลังงานมักจะต้องลุ้นว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน และแนวนโยบายจะเป็นเช่นไร เนื่องจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายหนึ่งก็อาจกระทบผลประโยชน์ของอีกฝ่าย หนึ่ง วันนี้เรามาดูกันว่าเราจะลดการนำเข้าน้ำมันได้อย่างไร

ในประเทศไทย เชื้อเพลิงที่เราใช้กันอยู่ เกิดจากการนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซินที่เราใช้กัน อยู่ และมีผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นตามสัดส่วนโดยประมาณดังนี้

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas:LPG) โดยปกติจะใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มเป็นหลัก 7-8%

น้ำมันเบนซิน รถยนต์นั่งส่วนใหญ่ใช้อยู่ 20-30%

น้ำมันดีเซลหรือโซล่า ใช้กับรถยนต์บรรทุก, เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม,เรือเดินสมุทร เครื่องจักรกล 30-33%

น้ำมันเครื่องบิน ทั้งแบบไอพ่นและใบพัด รวมทั้งน้ำมันก๊าดที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท ประมาณ 10%

น้ำมันเตา ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้พลังงานความร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพลังงาน จากไอน้ำ เช่น โรงไฟฟ้า 10-12%

ยางมะตอย เป็นผลผลิตที่เหลือท้ายสุด ใช้ลาดและฉาบตัวถนนหรือเคลือบป้องกันโลหะเป็นสนิม 6%

 

สัดส่วนของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดอาจสูงต่ำกว่านี้ ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรของโรงกลั่นและชนิดของน้ำมันดิบ

ปัจจุบันเราใช้น้ำมันดีเซลมากกว่าเบนซินกว่าสองเท่าตัวในขณะที่การกลั่นจาก น้ำมันดิบได้เบนซินและดีเซลเท่าๆ กัน คราวนี้มาตอบคำถามยอดฮิตว่า เราควรจะส่งเสริม E85 แล้วหรือยัง (E85 คือเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเอทานอลในอัตราส่วน 85% กับเบนซินไร้สารตะกั่ว 15% มีค่า octane Number 105 รถยนต์ E85 สามารถใช้ได้ตั้งแต่เบนซินพื้นฐานไปจนถึง E85 ผสมในสัดส่วนใดๆ ก็ได้) ถ้าเป็นผู้ผลิตเอทานอลและชาวไร่อ้อยไร่มันสำปะหลังก็คงมีคำตอบเดียวว่า ให้รีบสนับสนุน แต่ถ้าเป็นมุมมองของค่ายรถยนต์ โดยเฉพาะรถญี่ปุ่นก็คงอยากให้ชะลอไปก่อนเพราะมีภาระต้องลงทุน ECO-CARS ตามนโยบายรัฐบาลก่อนๆ และหากนโยบายรัฐเปลี่ยนไปตามรัฐมนตรี ภาคเอกชนอาจเกิดความเสียหายเหมือนเช่นผู้ผลิตเอทานอลที่เคยได้รับในอดีต

จากความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ ประเทศไทยสามารถผลิตเอทานอลเพื่อชดเชยเบนซินได้ถึง 50% โดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง สำหรับดีเซลซึ่งมีความต้องการใช้มากกว่าเบนซิน กลับไม่มีการสนับสนุนเท่าที่ควรจากภาครัฐ จากข้อมูลเดือนสิงหาคม 2551 มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตไบโอดีเซลจำนวน 10 ราย กำลังการผลิตรวมกันกว่า 2.4 ล้านลิตรต่อวัน แต่ผลิตจริงๆ ไม่กี่แสนลิตรเนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลใช้เวลาและงบประมาณไปกับการส่งเสริมปลูกปาล์ม น้ำมันในพื้นที่ที่อาจยังไม่เหมาะสม

ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของ ไบโอดีเซลก็คือ ต้นทุนการผลิตต่อลิตร เท่าๆ กับดีเซลพื้นฐานและในบางครั้งก็สูงกว่า ต่างกับเอทานอลซึ่งปกติต่ำกว่าราคาเบนซิน

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุล ในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้รณรงค์เชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ปลูกพืชน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสบู่ดำ ซึ่งมีผู้พร้อมลงทุนหลายราย และต้องการพื้นที่ปลูกกว่า 1 แสนไร่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร.0-2345-1161-2 หรือ www.thaijatropha.com

 

Tuesday, November 18, 2008

โบอิ้งเผยใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานบินได้ในอีก

ฮือา!โบอิ้งเผยเตรียมใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานเครื่องบินในอีก 3 ปี ข้างหน้า ด้านสายการบินดังรายอื่นยังสนับสนุนไอเดียนี้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ว่า นายดาร์ริน เมอร์แกน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมประจำโบอิ้ง เปิดเผยว่า คาดว่าเครื่องบินโบอิ้งจะสามารถใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานในการบินได้ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารทั่วไปเป็นจำนวนหลายล้านคนทั่วโลกภายในระยะเวลา 3 ปี โดยเขาคาดว่าจะมีการรับรองเรื่องนี้เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาด โดยเครื่องบินไม่จำเป็นจะต้องปรับแปลงเครื่องใหม่ในการใช้พลังงานไบโอดีเซล ดังกล่าวแต่คาดว่าจะต้องนำมาผสมกับพลังงานอื่น ๆ ในสัดส่วนเฉลี่ย 30 % แต่หากจะใช้โบโอดีเซลเพียงอย่างเดียวจะมีปัญหาตรงที่ว่าโลกจะต้องผลิต พลังงานดังกล่าวให้ได้ปริมาณ 8,500 ล้านเคโรซีนต่อแกลลอนต่อปี

 

รายงานกล่าวว่า การเปิดเผยนี้มีขึ้นหลังมีการทดสอบหลายบริษัทสายการบินได้ทำการทดลองเช่นนี้ เช่น เวอร์จิ้น แอตแลนติก และโบอิ้ง ขณะที่แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ซึ่งเป็นสายการบินใหญ่ที่สุดของโลก ยังได้สนับสนุนการทดลองดังกล่าวด้วย