Tuesday, December 16, 2008

กูรูมันแนะให้ปรับนโยบายเอทานอล

กูรูมันแนะให้ปรับนโยบายเอทานอล

[Image]

นาย สุกิจ หวั่งหลี ประธานกรรมการบริษัท พูลผล จำกัด และประธานคณะกรรมการมูลนิธิ สถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังคงจะต้องชะลอออกไปก่อนหลังจากที่ระดับ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปรับ ลดลงต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากที่เคยปรับขึ้นไปสูงสุดถึง 150-170 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงกลางปีส่งผลให้แรงจูงใจในการผลิตและการใช้ พลังงานทดแทนปรับลดลง

แหล่งข่าวจากวงการค้ามันสำปะหลัง เปิดเผยว่า แผนการผลิตพลังงานทดแทน เอทานอลจากมันสำปะหลังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะในปี 2551 มีบริษัท ไทยง้วน เอทานอล จำกัด จ.ขอนแก่น เพียงโรงงานเดียวที่ใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังไปผลิตเอทานอล ทำให้สัดส่วนการใช้มันสำปะหลังส่วนนี้มีเพียง ไม่ถึง 1 ล้านตัน จากเดิมที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าความต้องการใช้มันสำปะหลังจะมีไม่ต่ำ กว่า 30 ล้านตัน

ก่อนหน้านี้มีการประเมินกันว่า ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป จะมีความต้องการมันเม็ดไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน, จีน ต้องการมันเส้นไม่ต่ำกว่า 4 ล้านตัน และโรงงานอาหารสัตว์ภายในประเทศจะใช้มันอยู่ระหว่าง 1.2-1.5 ล้านตัน ส่งผลให้มีความต้องการใช้มันเส้น-มันเม็ดไปแล้วถึง 7 ล้านตัน หรือ 15 ล้านตันหัวมันสด ในขณะที่อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังมีความต้องการใช้มันไม่ต่ำกว่า 15 ล้านตัน โดยเฉพาะยังมีการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบใน การผลิตเอทานอล ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานเปิดขึ้นอีกหลายโรง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านตัน จึงได้เป็นแรงจูงใจใน การเพิ่มปริมาณผลผลิตในฤดูกาลผลิต ปี 2551/52 เป็น 27.619 ล้านตัน จากปีก่อนที่มีผลผลิต 26.411 ล้านตัน

"สาเหตุหลักที่ทำให้การผลิตเอ ทานอลจากมันสำปะหลังไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับซื้อเอทานอลรายเดียว กำหนดราคารับซื้อต่ำจนโรงงานเอทานอลรับไม่ได้ เช่น หากจะให้ซื้อหัวมันสดจากเกษตรกร ก.ก.ละ 2 บาท มาผลิตเป็นเอทานอลได้ 12 บาท ต่อลิตร รวมค่าบริหารจัดการจะมีต้นทุน 19 บาทต่อลิตร หากจะให้โรงงานอยู่ได้ต้องซื้อ 20 บาทต่อลิตร แต่บริษัทกลับซื้อกัน จริงเพียง 16.50 บาทต่อลิตรเท่านั้น จากเพดานราคาเอทานอลที่ 17.54 บาทต่อลิตร แผนเอทานอลจึงไม่เพิ่มขึ้น และเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงทำให้ส่วนต่างของน้ำมันกับพลังงานทดแทนต่างกัน ไม่มาก ประชาชนก็เลยหันกลับไปใช้น้ำมันปกติมากกว่า"

No comments: