นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดี กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย.คาดว่าบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อาจต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มจาก ต่างประเทศอีกประมาณ 40,000 ตัน ในราคาตันละ 900 เหรียญสหรัฐฯและนำมาจำหน่ายในประเทศโดยที่ ปตท.ต้องรับภาระแทนประชาชนประมาณ 800 ล้านบาท สาเหตุที่ยอดการนำเข้าก๊าซหุงต้มของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะถูกนำไป ใช้ใน 3 ด้านคือ 1. ใช้ในภาคขนส่ง 2. ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และ 3. มีการลักลอบนำออกไป ตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นปัญหาที่กรมศุลกากรต้อง เข้มงวดกวนขันการลักลอบอย่างหนัก
นายเมตตากล่าวว่า สาเหตุที่ก๊าซหุงต้มถูกลักลอบออกไปขายในประเทศเพื่อนบ้านเพราะว่าราคาขายปลีกขนาดถัง 15 กิโลกรัมในไทยอยู่ที่ 290 บาท แต่หากลักลอบออกไปขายในประเทศเพื่อน บ้านจะมีราคาที่ 800 บาทต่อถัง อย่างไรก็ตาม ธพ. ได้ร่วมมือกับกรมศุลกากรตั้งหน่วยเฉพาะกิจสกัดการลักลอบส่งออกก๊าซหุงต้ม ด้วยการใช้มาตรการที่เข้มข้น จึงเชื่อว่าการลักลอบส่งออกจะเริ่มลดลงในระดับหนึ่ง
"หาก รัฐบาลประกาศลอยตัวราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มสำหรับภาคขนส่งในเดือน ก.ค.เป็นต้นไป ก็จะทำให้ยอดการใช้ก๊าซหุงต้มแอลพีจีในรถยนต์ ลดลง เพราะรถยนต์ส่วนหนึ่งจะหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์หรือเอ็นจีวีแทน ซึ่งต้องรอดูว่า รัฐบาลจะลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดส่วนต่างราคาให้คนหันไปใช้เอ็นจีวี โดย ขณะนี้ราคาเอ็นจีวีอยู่ที่ลิตรละ 8.50 บาท และก๊าซหุงต้มอยู่ที่ลิตรละ 10 บาท"
นาย ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับ กิจการพลังงาน (เรกกูเลเตอร์) เปิดเผยถึงการพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) งวดใหม่ที่จะใช้ในเดือน มิ.ย.-ก.ย.นี้ว่า เรกกูเลเตอร์มีมติเห็นชอบการเรียกเก็บค่าเอฟทีอยู่ที่ 62.85 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลงจากงวดก่อนหน้า 6.01 สต./หน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนรอบใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 2.88 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประชาชน เนื่องจากค่าไฟฟ้าถือเป็นส่วนหนึ่งของ ต้นทุนหลายชนิด ทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรมและ สินค้าเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน
ขณะ เดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้แจ้งว่าผู้ค้าน้ำมันได้แจ้งปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันมีผลตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.โดยผู้ค้ารายอื่นๆ ยกเว้น ปตท. และบางจากได้ปรับขึ้นราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมัน เบนซิน 50 สตางค์/ลิตร และดีเซล 80 สต./ลิตร ส่วน ปตท.และบางจากปรับขึ้นเฉพาะดีเซล 80 สต./ลิตร ส่งผลให้ราคาเบนซิน 95 ของเชลล์สูงถึง 42.39-43.39 บาท/ลิตร เอสโซ่ 42.09 บาท/ลิตร คาลเท็กซ์ 41.59 บาท/ลิตร ส่วนของ ปตท.และบางจากอยู่ที่ 41.59 บาท/ลิตร
ส่วนเบนซิน 91 รายอื่นๆที่ 40.99 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 ที่ 37.39 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 ที่ 36.59 บาท/ลิตร โดย ปตท.และบางจากขาย ถูกกว่ารายอื่น 50 สต./ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลรายอื่นๆอยู่ที่ 42.14 บาท/ลิตร ปตท.และบางจากถูกกว่า 80 สต./ลิตร อยู่ที่ 41.34 บาท/ลิตร ทั้งนี้ แม้จะปรับ ขึ้นราคารอบนี้แล้วแต่ปรากฏว่าค่าการตลาดน้ำมันของผู้ค่าน้ำมันก็ยังต่ำอยู่ ทำให้มีแนวโน้มว่าในระหว่างวันที่ 14-15 มิ.ย. นี้ผู้ค้าน้ำมันอาจปรับขึ้น ราคาขายปลีกเบนซินและดีเซลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกฯและ รมว. อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันเอทานอล 85 หรืออี 85 ตามมติ ครม.ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเพราะมีรายละเอียดหลายอย่างที่ต้องขอความเห็นชอบ จากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งจากกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังในเรื่อง ของประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับอี 85 รวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิตของเอทานอล ซึ่งทั้งหมดรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กระทรวง ควร ต้องตั้งโต๊ะหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการเพื่อกำหนดนโยบายให้เกิดข้อยุติที่ชัดเจนเพื่อทำให้การส่งเสริมอี 85 เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
No comments:
Post a Comment