Tuesday, July 8, 2008

แก๊สโซฮอล์ อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย

แก๊สโซฮอล์ อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย

รายงาน

ใน ช่วงที่วิกฤตน้ำมันกำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างพยายาม หาทางออกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และล่าสุดรัฐบาลได้มีมติในการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานแก๊สโซฮอล์ อี 85 ในเมืองไทย

ทางชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ (The Coalition for Energy Sustainability and Security for Thailand-ESST) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนที่สามารถผลิตหมุนเวียนได้ในประเทศ ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ "อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย" เพื่อหาบทสรุปของอี 85 ว่า จะเป็นทางรอดจริงๆ หรือไม่ มีปัญหาในด้านใดบ้าง ผลิตเอทานอลได้เพียงพอหรือเปล่า ผลประโยชน์ลงไปที่เกษตรกรจริงๆ หรือไม่ อย่างไร

อี 85 ราคาไม่ควรเกิน 15 บาท

นายธิบดี หาญประเสริฐ ประธานชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ และรองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทน เอทานอล-ไบโอดีเซล แห่ง

ประเทศ ไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีสิ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับแก๊สโซฮอล์ว่า อี 10 มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าเบนซินธรรมดาอยู่ที่ 2-3% ทั้งนี้ขึ้นกับขนาด เครื่องยนต์รถและพฤติกรรมการขับรถ ซึ่งอี 20 มีอัตราสิ้นเปลืองมากกว่าอยู่ที่ 6% ส่วนอี 85 อยู่ที่ 26% ซึ่งทุกที่ในโลกยอม รับว่าแก๊สโซฮอล์ให้อัตราการสิ้นเปลือง มากกว่าจริง แต่สิ่งที่คนไม่พูดถึงคือประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง แก๊สโซฮอล์ให้กำลังและแรงบิดที่มากกว่าเบนซินธรรมดา 3%

ในเรื่อง ของสิ่งแวดล้อมและคุณสมบัติทางเคมี เมื่อผสมเอทานอลเข้าไป แรงดันการระเหยมีจริง แต่เมื่อผสมเข้าไปมากขึ้นสิ่งนี้จะต่ำลง และช่วยลดสัดส่วนของ อิมมิชั่นมากขึ้น

หากจะจัดโครงสร้างราคาให้ เหมาะสม สำหรับแก๊สโซฮอล์ อี 10, อี 20 และ อี 85 ควรอยู่ที่ 4 บาท 6 บาท และ 15 บาทตามลำดับ (เทียบจากราคาเบนซิน 95 อยู่ที่ 40 บาทต่อลิตร)

ใน ส่วนของรถจักรยานยนต์นั้น สามารถใช้ อี 10 ได้แน่นอน เพราะส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะหมดแล้ว ส่วนแก๊ส โซฮอล์ประเภทอื่นๆ ทั้ง อี 20, อี 85 หรือแม้กระทั่ง อี 100 สามารถใช้ได้โดยการปรับตั้งเครื่องยนต์ และหากใช้ อี 85 ในจักรยานยนต์ จะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมได้มาก เพราะควันขาวของจักรยานยนต์มีอันตรายยิ่งกว่าควันดำของรถบรรทุกอีก

ใน ส่วนของค่ายรถยนต์นั้น เรื่องเทคโนโลยีเอทานอล หรืออี 85 บริษัทรถยนต์หลายรายต่างรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไร เพราะขณะนี้มีที่บราซิล และหลายประเทศก็เริ่มไปแล้ว

สำหรับเมือง ไทยเราเน้นส่งเสริมเรื่องการประกอบรถยนต์ในประเทศ จึงต้องดูเรื่องความพร้อมเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ในการผลิต ซึ่งแต่ละบริษัทใช้เวลาสั้นยาวต่างกัน ในช่วงเริ่มแรกคงต้องนำเข้าก่อน ซึ่งรัฐคงต้องดูเรื่องความสมดุลตรงนี้ให้ดี เพราะถ้าไปถามบริษัทรถยนต์จะได้คำตอบที่ไม่เหมือนกันทุกที่ สำคัญที่สุดคือ นโยบายรัฐต้องชัดเจนก่อน

ส่วนกรณีของบริษัทยักษ์ใหญ่นั้น ในฐานะที่ได้คลุกคลีกับบริษัทเหล่านี้มาตลอด ยืนยันได้เลยว่าเอาด้วยแน่ แต่ต้องขอเวลาหน่อย ดังนั้นในเมื่อแต่ละค่ายพร้อมไม่เท่ากัน รัฐต้องกำหนดกติกาที่เป็นธรรมกับ ทุกคน ในส่วนของวัสดุเราพร้อมอยู่แล้ว อย่างน้อย 6 เดือน หรือปีหนึ่งถึงจะเกิดได้

"โดยส่วนตัวเชื่อว่า ต้องสร้างที่ดีมานด์ก่อน หากรัฐกำหนดเป็นกฎหมาย เกษตรกรก็จะกล้าปลูก กล้าทำกัน เมื่อทุกคนลงไปเล่น การวิจัยพัฒนา การส่งเสริมก็จะเพิ่มมากขึ้น อ้อยอาจไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ แต่เพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งถ้าจะเพิ่มผลผลิต ก็ต้องทำให้ดีมานด์มีพอกัน ไม่งั้นก็เหลือ"

ในเรื่องของอีโคคา ร์กับอี 85 นั้น แรกเริ่มอีโคคาร์กำหนดสเป็กไว้ที่ 20 ก.ม./ลิตร แต่อี 85 สิ้นเปลืองกว่าเบนซิน 25-30% จึงเป็นได้ยากที่จะทำตัวเลขเท่านั้นได้ ถ้ามองในแง่การตลาดของบริษัทรถยนต์ในเชิงลึก แม้จะได้รับการอนุมัติโครงการไปแล้ว แต่ถ้าบริษัทจะปรับมาใช้อี 85 ก็สามารถทำได้ เพราะน้ำมันราคาถูกกว่า สรุปว่าถ้าปรับมาใช้ได้ก็ยิ่งดี

เสนอแยกกฎหมายเอทานอลโดยเฉพาะ

นาย สิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคม ผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ข้อสงสัยในเรื่องที่ว่า เราจะมีเอทานอลเพียงพอต่อการผลิตอี 85 หรือเปล่า ในส่วนของผู้ผลิต เอทานอลแล้ว ถ้ามีการผลิตครบทุกโรงงาน จาก 49 โรงงาน ต้องบอกว่าพอและเหลือด้วย

ทั้งนี้ในสภาพความเป็นจริงแล้ว โรงกลั่น ผู้ผลิตรถ ผู้ใช้รถ ต้องไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันนี้ 11 โรงงานผลิตได้ 1.575 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งที่ความต้องการในประเทศยังแค่ 7 ลิตรต่อวันเท่านั้นเอง ดังนั้นเราจึงต้องส่งขายทางอื่นด้วย

"ต้องบอก ว่า การเลือกส่งเสริมอี 85 นั้นมาถูกทางแล้ว แต่ปัญหาคือ กฎหมายยังกำหนดให้เอทานอล ต้องขายให้โรงกลั่นน้ำมันอยู่ ดังนั้นถ้าเราต้องเปิดเสรีการขาย ภาพการผสมน้ำมันกับเอทานอลต้องเปลี่ยน เราอาจจะตั้งโรงงานผสมที่หัวเมือง ให้ใกล้โรงเอทานอล หรือเปิดให้ผู้ค้าเอทานอลสามารถเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้ ไม่อย่างนั้นการขนส่งเอทานอล 85% ไปให้ผู้ผลิตน้ำมัน ค่าขนส่งต้องเพิ่มขึ้น"

หากราคาเบนซิน 95 อยู่ที่ 40 บาทต่อลิตร ถ้าตั้งราคาอี 85 ที่ 25 บาท การจะทำให้อี 85 ไปรอด น่าจะอยู่ที่โครงสร้างราคาเอทานอล โครงสร้างราคาที่ว่าหมาย รวมถึงสัดส่วนของราคาของแต่ละภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตน้ำมัน ผู้ขายน้ำมัน โครงสร้างราคาต้องได้รับการกำหนดอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนการจัดเก็บภาษี 2.575 บาทต่อลิตร สำหรับเอทานอล นั้น ในเมื่อรัฐบาลบอกว่าภาษีของเอทานอลที่ใช้เชื้อเพลิงไม่เก็บก็ควรลดลงมาอยู่ ที่ 0.55 บาท

ทั้งนี้ หากจะจริงจังกับอี 85 รัฐต้องดูแลพื้นที่การปลูกพืชไร่ให้ดี จัดการให้ทุกสิ่งทุกอย่างลงตัว รวมทั้งเรื่องกฎหมายจัดการ เอทานอลยังไม่มีชัดเจน เพราะเอทานอล ยังถือว่าอยู่ในหมวดสุรา จึงมีกรมสรรพสามิตดูแล เป็นไปได้ควรมีกฎหมายเกี่ยวกับเอทานอลโดยเฉพาะ

ชี้เอทานอลช่วยเกษตรกรไทยฟื้น

นาย มานะ ฤทธิชัยสมาจาร นายกสมาคมชาวไร่อ้อยสี่แคว นครสวรรค์ และประธานสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อย สี่แคว ในฐานะตัวแทนผู้ผลิตอ้อย คิดว่า อี 85 เป็นทางรอดแน่นอน ในส่วนของ ภาคเกษตรกร ผลที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตร คือเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาวิกฤต ของประเทศ เป็นการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสใน 2 ด้าน ทั้งทางด้านพลังงานและเกษตร

" อ้อยเป็นพืชพลังงานตัวจริง ไม่มีผลกระทบต่อเรื่องอาหารแน่นอน เราผลิตน้ำตาลในไทย 7.8 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 2 ล้านตัน ที่เหลือส่งออก เป็นอันดับที่ 3 ของโลก แต่ตัวเกษตรกรจน และมีหนี้อยู่ 24,000 ล้านบาท แต่อี 85 จะเป็นโอกาสที่ดีของเรา เป็นการบริหารอุปทานส่วนเกินที่มีอยู่ ถ้าเราผลิตเอทานอลได้ตรง ผลิตน้ำมันได้ตรง ก็ไม่ต้องขนส่งไปขนส่งมา เป็นโอกาสที่ดีจริงๆ ของการแก้ไขเรื่องพลังงาน แก้ไขปัญหาความยากจน เรื่องพืชผลทางการเกษตรด้วย"

ทั้งนี้ รัฐบาลควรนำบทเรียนในบราซิล มาศึกษาดู ไม่ควรมองมิติเดียวว่าทำ อย่างไรให้พลังงานราคาต่ำลง รัฐต้องมองด้วยว่า ภาคอื่นจะอยู่ได้ไหม ต้องดูท่อน้ำ ตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย ประชาชน ผู้ผลิตเอทานอล ราคาต้นทุนวัตถุดิบเป็นอย่างไร สำหรับบราซิลส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลให้เกิดก่อน แต่ผมมองว่า ให้ประชาชนอยู่บน ฐานสามเหลี่ยมด้านซ้ายเป็นผู้ผลิตเอทานอล ฐานขวาเป็นเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย อยากให้รัฐบริหารสามเหลี่ยมด้านเท่านี้ให้สมดุล น่าไปรอดแน่นอน

ระบุอนาคตปั๊มต้องขายเชื้อเพลิงเฉพาะ

นาย มนูญ ศิริวรรณ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากมีอี 85 เข้ามา ประเด็นเรื่องเครื่องยนต์ยังไม่เป็นปัญหามากนัก สถานีบริการน่าจะเป็นข้อจำกัด มากกว่า เพราะปั๊มต้องเปลี่ยนถังใหม่เลย แต่ในอนาคตแต่ละปั๊มจะจำหน่ายครบทุกผลิตภัณฑ์ไม่ได้ จึงต้องให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในย่านนั้น และแปรผันตามลักษณะของลูกค้าในภูมิภาค ไม่จำเป็นต้องลงทุนเปลี่ยนถังถ้าไม่จำหน่าย อี 85 ทั้งนี้ขึ้นกับการขยายตัวของอี 85 ด้วยว่าไปได้เร็วแค่ไหน ซึ่งคิดว่าคงไม่เร็วนักเหมือนอี 20 ตอนนี้ที่ค่อยๆ ขยายไป

อีกทาง เลือกหนึ่ง คือการผสมเอทานอล 5% แล้วบังคับเป็นกฎหมายให้เป็นเบนซินหลักเหมือนดีเซล B5 ก็อาจจะช่วยได้ เรื่อง อี 100 ในมุมของยานยนต์น่าที่จะพัฒนามาเป็นอี 85 เพราะห่วงเรื่องการสตาร์ต เนื่อง จากต้องอาศัยเชื้อเบนซินอยู่หน่อย ถ้าจะใช้ อี 100 ก็ทำได้ แต่ต้องมีรายละเอียด และอาจจะมีค่ายรถยนต์บางค่ายที่ยังไม่พร้อม แต่อี 85 จะค่อนข้างพร้อมทุกบริษัท

ทั้งนี้ การเริ่มทำอี 85 ทุกคนมีจุดที่เจ็บตัวเหมือนกันทั้งนั้น โรงกลั่นต้องกลั่นน้อยลง แต่ในแง่เทรดเดอร์ก็ต้องใช้เงินซื้อ เอทานอลน้อยลง เพราะถูกกว่าน้ำมันดิบ แต่เรื่องการผลิตก็ต้องดูกันไป

สรุปคืออี 85 อาจจะเป็นทางเลือกไปก่อนในช่วงแรกๆ แต่ถ้าราคาน้ำมันขึ้นไปเรื่อยๆ อี 85 คงเป็นทางรอดของพวกเรา ทุกคน

No comments: