Tuesday, July 8, 2008

E 85 ต้องถูกกว่า 13-14 บาท

E 85 ต้องถูกกว่า 13-14 บาท

ใน อีกเวทีหนึ่งของการสัมมนา "E 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย" จัดโดยชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการกล่าวถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ของการส่งเสริมให้มีน้ำมันแก๊สโซ ฮอล์ E 85 ทั้งในเรื่องของวัตถุดิบ คือ เอทานอล อุตสาหกรรมรถยนต์ ไปจนถึงกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในมุมมองของ

นายธิบดี หาญประเสริฐ รองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทน เอทานอล-ไบโอดีเซล แห่งประเทศไทย เชื่อว่า เป็นเรื่องที่ต้องเร่งส่งเสริมความพร้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในด้านเทคโนโลยีนั้นมีอยู่แล้ว ไทยไม่ใช่ชาติแรกที่ทำในเรื่องนี้ แต่ช้าไปด้วยซ้ำ ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายมีความพร้อม แต่วันนี้อาจจะมีความพร้อมที่ไม่เท่ากันเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่า

นอก จากนี้รัฐต้องชัดเจนในเรื่องของการส่งเสริม เนื่องจากบางเรื่องที่ "อนุมัติ" ออกมาเป็นเพียงมติคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ใช่กฎหมายที่บังคับใช้ได้ ในระดับนโยบายจึงกลับไปกลับมา ควรกำหนดเป้าหมายของเรื่อง E 85 ให้ชัด เช่น สหรัฐ มีการวางเป้าหมายชัดเจนว่า จะมีการผลิตเอทานอลรวมในปี 2022 ประมาณ 350 ล้านลิตร/วัน ฉะนั้นหากภาครัฐจะเดินหน้าเรื่องนี้ควรกำหนดกรอบให้ชัดเจน

นาวา เอก ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า การส่งเสริมใช้เอทานอลมีการส่งเสริมในประเทศมากว่า 10 ปี แต่วันนี้ภาพรวมการใช้ยังน้อยเพราะขาดเรื่องกฎหมายที่จะออกมาบังคับใช้ เชื่อว่าหากมีการส่งเสริมการใช้ E 85 ราคาน้ำตาลจะถูกลงด้วยซ้ำ ส่วนกรณีที่พืชพลังงานจะไปแย่งพืชเพื่อการบริโภคนั้นเชื่อว่า "ไม่เป็นความจริง"

ภายหลังจากการส่งเสริมผลิตเอทานอล ราคามันสำปะหลังขยับขึ้นไปร้อยละ 60 ราคาปาล์มช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ราคาขึ้นไปร้อยละ 58 การส่งเสริมพืชพลังงานถือเป็นการช่วยเกษตรกร และที่สำคัญวันนี้ไทยนำเข้าพลังงานกว่าร้อยละ 80 ในขณะที่ต้นแบบเอทานอลอย่างบราซิลที่มีการใช้ E 100 ไม่ต้องนำเข้าและไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันมากนัก หากเราส่งเสริม เอทานอลแล้ว เมื่อเกษตรกรไทยเจริญแล้ว สังคมไทยจะดีขึ้นตามมา

ด้าน นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผูผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า หากส่งเสริมให้มีการใช้ E 85 ภายในปีนี้นั้น จะมีกำลังผลิตเอทานอลทั้งโรงเก่าและโรงงานใหม่ที่จะเปิดดำเนินการผลิตภายใน ปีนี้รวม 49 โรงงาน กำลังผลิตเอทานอลทั้งหมดถือว่ารองรับได้ เพราะวันนี้มีการผลิตจาก 11 โรง รวมกำลังผลิต 1.575 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่มีความต้องการใช้จริงเพียงร้อยละ 50 หรือที่ 700,000-800,000 ลิตร/วันเท่านั้น

ปัจจุบันมีรถที่ใช้น้ำมันปกติอยู่ที่ 20 ล้านลิตร/วัน แบ่งเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 10/ E 20 ประมาณ 800,000 ลิตร/วัน และหากมีการใช้ E 85 คาดจะมีการใช้อยู่ที่ 10.2 ล้านลิตร/วัน หากทุกโรงงานเอทานอลที่ได้รับอนุมัติไปแล้วรวม 49 โรงงาน เริ่มผลิตจะมีปริมาณเอทานอลรวม 12.385 ล้านลิตร/วัน รองรับ E 85 ได้ไม่มีปัญหา สำหรับราคา E 85 ควรมีราคาต่างจากน้ำมันเบนซินปกติ "ไม่ต่ำกว่า" 13-14 บาท/ลิตร

นายมานะ ฤทธิชัยสมาจาร นายกสมาคมชาวไร่อ้อยสี่แคว นครสวรรรค์ และประธานสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อย

สี่ แคว กล่าวว่า การส่งเสริม E 85 ถือว่าภาครัฐมาถูกทาง เพราะทุกวันนี้มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในประเทศจะถึงระดับ 50 บาท/ลิตรได้ไม่ยาก ฉะนั้นจึงต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ศักยภาพวันนี้สามารถผลิตพืชพลังงานได้สูง วันนี้ประเทศสามารถผลิตน้ำตาลได้ 7.8 ล้านตัน แบ่งเป็น เพื่อการบริโภค 2 ล้านตัน ฉะนั้นเหลืออีกประมาณ 5 ล้านตัน ที่สามารถมาใช้เพื่อผลิตพลังงาน

ด้าน ดร.วิจิตร ศรียรรยงวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชพลังงานทดแทนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบาย E 85 ถือเป็นทางเลือก เรามีทั้งวัตถุดิบและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จะรองรับ ภายใต้ราคาน้ำมันสูงขณะนี้เราต้องพึ่งพาตัวเอง แต่ทั้งนี้ต้องมองถึงผลกระทบที่จะส่งไปยังโรงกลั่นน้ำมันด้วย ปริมาณน้ำมันเบนซินที่ 17 ล้านลิตร/วัน จะทำอย่างไร ซึ่งกระทรวงพลังงานต้องเข้ามาดูแลด้วย

No comments: