Tuesday, December 16, 2008

อนาคตพลังงานทดแทน เมื่อน้ำมันดิบราคา 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล

อนาคตพลังงานทดแทน เมื่อน้ำมันดิบราคา 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล

    ราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว และยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤติทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุด นับจากการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลก เมื่อ 80 ปีที่แล้ว

 

        ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสซื้อขายในตลาด Nymex เมื่อวันศุกร์ ที่ 28 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 54.43 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าราคาน้ำมันดิบน่าจะอ่อนตัวลงได้อีกจาก ความต้องการน้ำมันทั่วโลกที่จะลดน้อยลง จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะลุกลามไปทั่วโลก โดยคาดว่าถ้าเศรษฐกิจโลกไม่มีวี่แววว่าจะฟื้นตัว ราคาน้ำมันดิบน่าจะปรับลดลงไปต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ได้ในช่วงสิ้นปีนี้

 

        ปัญหาคือราคาน้ำมันดิบที่ ต่ำกว่า50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลนี้ ถือเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อการขยายตัวของพลังงานทดแทน และส่งผลให้ประเทศไทย ต้องเผชิญปัญหาพลังงานทดแทนที่มีราคาแพงกว่าน้ำมัน โดยปัจจุบันราคาเอทานอลลิตรละ 22-24 บาท ขณะที่น้ำมันเบนซิน 95 หน้าโรงกลั่น ราคาเพียง 9.83 บาทต่อลิตร (ราคาเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 51) ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีสรรพสามิต/ภาษีเทศบาล/กองทุนน้ำมัน/กอง ทุนอนุรักษ์พลังงานและภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 10.12 บาทต่อลิตร

 

        ดังนั้นถ้าเอาราคามาเทียบกันโดยยังไม่คิดภาษี ราคาเอทานอล ในปัจจุบันก็แพงกว่าราคาเบนซินถึงลิตรละ 10 กว่าบาท ดังนั้นเมื่อเอามาผสมกับน้ำมันเบนซินในปริมาณ 10% ก็ทำให้ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 หน้าโรงกลั่นมีราคา 11.26 บาทต่อลิตร ซึ่งแพงกว่าเบนซิน 95 ถึงลิตรละ 1.43 บาท แต่ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์ 95 (E-10) ยังคงถูกกว่าเบนซิน 95 ได้ถึงลิตรละ 8.90 บาท ก็เพราะรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิต/เงินเก็บเข้ากองทุนให้กับแก๊สโซฮอล์ถึงลิตรละ 5.32 บาท นอกนั้นก็เป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าการตลาดที่ต่ำกว่าการจำหน่ายเบนซิน 95

 

        ปรากฏการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับแก๊สโซฮอล์ 91 และไบโอดีเซล B5 เช่นเดียวกัน เพราะราคาไบโอดีเซล B100 อยู่ที่ลิตรละ 22-22 บาท ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ลิตรละ 14.77 บาทเท่านั้น

 

        ราคาต้นทุนเอทานอลและ B100 ที่สูงกว่าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล ธรรมดานี่เองที่ทำให้อนาคตของพลังงานทดแทนประเภทเชื้อเพลิงชีวภาพ (B10-FUEL) ไม่ค่อยสดใสนักและราคาน้ำมันที่ลดลงเรื่อย ๆ ยิ่งเป็นแรงกดดันต่อการขยายขอบข่ายของการใช้ พลังงานทดแทนมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

        จะเห็นว่าภายหลังการปรับราคาน้ำมันเริ่มมีการปรับลดน้ำมันเบนซินธรรมดา มากกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ทำให้ส่วนต่างระหว่างน้ำมันทั้ง 2 ชนิด แคบลงจากแต่เดิมเบนซิน 95 กับแก๊สโซฮอล์ 95 เคยมีส่วนต่างถึงลิตรละ 10.10 บาท แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 8.90 บาท และเบนซิน 91 กับแก๊สโซฮอล์ 91 ก็มีการปรับลดส่วนต่างลงจาก 7.70 บาทต่อลิตร เหลือเพียง 5.50 บาทต่อลิตร เท่านั้น

 

        การที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างมาก และส่วนต่างราคาที่แคบเข้า ประกอบกับผู้บริโภคมีความเชื่อว่าคุณภาพน้ำมันเบนซินดีกว่าแก๊สโซฮอล์ ทำให้ปัจจุบันยอดการใช้แก๊สโซฮอล์เริ่มลดลงและยอดการใช้เบนซินเริ่มสูงขึ้น และคงจะเป็นไปในทิศทางนี้เรื่อย ๆ ถ้าราคาน้ำมันลดลงอีกในอนาคต

 

        รัฐบาลเองก็มีปัญหา เพราะการลดภาษีสรรพสามิต ให้กับแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซลตามมาตรการ 6 เดือน จะครบกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จะต้องปรับภาษีสรรพสามิต สำหรับน้ำมันทั้ง 2 ชนิด นี้ขึ้นไปอีก 3.63 บาทต่อลิตร และ 2 .53 บาทต่อลิตรตามลำดับ ยิ่งจะทำให้น้ำมัน 2 ชนิดนี้มีราคาแพงขึ้น และจะไปใกล้เคียงกับราคาน้ำมันเบนซินมากขึ้น

 

        ดังนั้นทางออกของรัฐบาลในระยะสั้น คือ ต้องปรับเพิ่มเพดานการเก็บเงินเข้ากองทุน้ำมันจากผู้ใช้เบนซิน 95 และ 91 เป็น 5 บาทต่อลิตร เพื่อรักษาระดับส่วนต่างของน้ำมันเบนซินและ แก๊สโซฮอล์เอาไว้ที่ระดับ 7-9 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้คนไม่เปลี่ยนมาใช้เบนซินธรรมดาทั้ง 95 และ 91 เพิ่มมากขึ้น

 

        ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งแผนยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ให้เหลือแต่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เพียงอย่างเดียว และเปลี่ยนน้ำมันดีเซล B2 เป็น B5 ที่เดิมกำหนดไว้ในปี 2554 ให้เร็วขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาเอทานอลล้นตลาด และราคาพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลังและอ้อยตกต่ำ ซึ่งเท่ากับกระสุนนัดเดียวยิงนกได้ 2 ตัว

 

        ส่วนในระยะยาวคงต้องเร่ง ROAD.MAP พืชพลังงานและพลังงานทดแทนให้ออกมามีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทั้งในด้านการขยายพื้นที่การเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ตลอดจนการสร้างเสถียรภาพด้านราคาให้กับพืชพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้มีการนำพืชพลังงานเข้าซื้อขายในตลาดซื้อขาย ผลิตภัณฑ์ เกษตรล่วงหน้า (AFET) หรือตั้งกองทุนขึ้นมาดูแลเสถียรภาพของพืชพลังงานโดยตรง

 

        แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาน้ำมันลงมาต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล จริง ๆ และราคาพืชพลังงานไม่ลดลงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ก็บอกได้คำเดียวว่าอนาคตของพลังงานทดแทนในบ้านเราคงไม่สดใสแน่นอน

กูรูมันแนะให้ปรับนโยบายเอทานอล

กูรูมันแนะให้ปรับนโยบายเอทานอล

[Image]

นาย สุกิจ หวั่งหลี ประธานกรรมการบริษัท พูลผล จำกัด และประธานคณะกรรมการมูลนิธิ สถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังคงจะต้องชะลอออกไปก่อนหลังจากที่ระดับ ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปรับ ลดลงต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากที่เคยปรับขึ้นไปสูงสุดถึง 150-170 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงกลางปีส่งผลให้แรงจูงใจในการผลิตและการใช้ พลังงานทดแทนปรับลดลง

แหล่งข่าวจากวงการค้ามันสำปะหลัง เปิดเผยว่า แผนการผลิตพลังงานทดแทน เอทานอลจากมันสำปะหลังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะในปี 2551 มีบริษัท ไทยง้วน เอทานอล จำกัด จ.ขอนแก่น เพียงโรงงานเดียวที่ใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังไปผลิตเอทานอล ทำให้สัดส่วนการใช้มันสำปะหลังส่วนนี้มีเพียง ไม่ถึง 1 ล้านตัน จากเดิมที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าความต้องการใช้มันสำปะหลังจะมีไม่ต่ำ กว่า 30 ล้านตัน

ก่อนหน้านี้มีการประเมินกันว่า ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป จะมีความต้องการมันเม็ดไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน, จีน ต้องการมันเส้นไม่ต่ำกว่า 4 ล้านตัน และโรงงานอาหารสัตว์ภายในประเทศจะใช้มันอยู่ระหว่าง 1.2-1.5 ล้านตัน ส่งผลให้มีความต้องการใช้มันเส้น-มันเม็ดไปแล้วถึง 7 ล้านตัน หรือ 15 ล้านตันหัวมันสด ในขณะที่อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังมีความต้องการใช้มันไม่ต่ำกว่า 15 ล้านตัน โดยเฉพาะยังมีการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบใน การผลิตเอทานอล ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานเปิดขึ้นอีกหลายโรง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ล้านตัน จึงได้เป็นแรงจูงใจใน การเพิ่มปริมาณผลผลิตในฤดูกาลผลิต ปี 2551/52 เป็น 27.619 ล้านตัน จากปีก่อนที่มีผลผลิต 26.411 ล้านตัน

"สาเหตุหลักที่ทำให้การผลิตเอ ทานอลจากมันสำปะหลังไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับซื้อเอทานอลรายเดียว กำหนดราคารับซื้อต่ำจนโรงงานเอทานอลรับไม่ได้ เช่น หากจะให้ซื้อหัวมันสดจากเกษตรกร ก.ก.ละ 2 บาท มาผลิตเป็นเอทานอลได้ 12 บาท ต่อลิตร รวมค่าบริหารจัดการจะมีต้นทุน 19 บาทต่อลิตร หากจะให้โรงงานอยู่ได้ต้องซื้อ 20 บาทต่อลิตร แต่บริษัทกลับซื้อกัน จริงเพียง 16.50 บาทต่อลิตรเท่านั้น จากเพดานราคาเอทานอลที่ 17.54 บาทต่อลิตร แผนเอทานอลจึงไม่เพิ่มขึ้น และเมื่อราคาน้ำมันปรับลดลงทำให้ส่วนต่างของน้ำมันกับพลังงานทดแทนต่างกัน ไม่มาก ประชาชนก็เลยหันกลับไปใช้น้ำมันปกติมากกว่า"

Wednesday, November 26, 2008

E85 ต้องพัฒนาไปพร้อมไบโอดีเซล

E85 ต้องพัฒนาไปพร้อมไบโอดีเซล

ทุก ครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพลังงานมักจะต้องลุ้นว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน และแนวนโยบายจะเป็นเช่นไร เนื่องจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายหนึ่งก็อาจกระทบผลประโยชน์ของอีกฝ่าย หนึ่ง วันนี้เรามาดูกันว่าเราจะลดการนำเข้าน้ำมันได้อย่างไร

ในประเทศไทย เชื้อเพลิงที่เราใช้กันอยู่ เกิดจากการนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซินที่เราใช้กัน อยู่ และมีผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นตามสัดส่วนโดยประมาณดังนี้

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas:LPG) โดยปกติจะใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มเป็นหลัก 7-8%

น้ำมันเบนซิน รถยนต์นั่งส่วนใหญ่ใช้อยู่ 20-30%

น้ำมันดีเซลหรือโซล่า ใช้กับรถยนต์บรรทุก, เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม,เรือเดินสมุทร เครื่องจักรกล 30-33%

น้ำมันเครื่องบิน ทั้งแบบไอพ่นและใบพัด รวมทั้งน้ำมันก๊าดที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท ประมาณ 10%

น้ำมันเตา ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้พลังงานความร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพลังงาน จากไอน้ำ เช่น โรงไฟฟ้า 10-12%

ยางมะตอย เป็นผลผลิตที่เหลือท้ายสุด ใช้ลาดและฉาบตัวถนนหรือเคลือบป้องกันโลหะเป็นสนิม 6%

 

สัดส่วนของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดอาจสูงต่ำกว่านี้ ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรของโรงกลั่นและชนิดของน้ำมันดิบ

ปัจจุบันเราใช้น้ำมันดีเซลมากกว่าเบนซินกว่าสองเท่าตัวในขณะที่การกลั่นจาก น้ำมันดิบได้เบนซินและดีเซลเท่าๆ กัน คราวนี้มาตอบคำถามยอดฮิตว่า เราควรจะส่งเสริม E85 แล้วหรือยัง (E85 คือเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเอทานอลในอัตราส่วน 85% กับเบนซินไร้สารตะกั่ว 15% มีค่า octane Number 105 รถยนต์ E85 สามารถใช้ได้ตั้งแต่เบนซินพื้นฐานไปจนถึง E85 ผสมในสัดส่วนใดๆ ก็ได้) ถ้าเป็นผู้ผลิตเอทานอลและชาวไร่อ้อยไร่มันสำปะหลังก็คงมีคำตอบเดียวว่า ให้รีบสนับสนุน แต่ถ้าเป็นมุมมองของค่ายรถยนต์ โดยเฉพาะรถญี่ปุ่นก็คงอยากให้ชะลอไปก่อนเพราะมีภาระต้องลงทุน ECO-CARS ตามนโยบายรัฐบาลก่อนๆ และหากนโยบายรัฐเปลี่ยนไปตามรัฐมนตรี ภาคเอกชนอาจเกิดความเสียหายเหมือนเช่นผู้ผลิตเอทานอลที่เคยได้รับในอดีต

จากความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ ประเทศไทยสามารถผลิตเอทานอลเพื่อชดเชยเบนซินได้ถึง 50% โดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง สำหรับดีเซลซึ่งมีความต้องการใช้มากกว่าเบนซิน กลับไม่มีการสนับสนุนเท่าที่ควรจากภาครัฐ จากข้อมูลเดือนสิงหาคม 2551 มีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตไบโอดีเซลจำนวน 10 ราย กำลังการผลิตรวมกันกว่า 2.4 ล้านลิตรต่อวัน แต่ผลิตจริงๆ ไม่กี่แสนลิตรเนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลใช้เวลาและงบประมาณไปกับการส่งเสริมปลูกปาล์ม น้ำมันในพื้นที่ที่อาจยังไม่เหมาะสม

ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของ ไบโอดีเซลก็คือ ต้นทุนการผลิตต่อลิตร เท่าๆ กับดีเซลพื้นฐานและในบางครั้งก็สูงกว่า ต่างกับเอทานอลซึ่งปกติต่ำกว่าราคาเบนซิน

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุล ในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้รณรงค์เชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ปลูกพืชน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสบู่ดำ ซึ่งมีผู้พร้อมลงทุนหลายราย และต้องการพื้นที่ปลูกกว่า 1 แสนไร่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร.0-2345-1161-2 หรือ www.thaijatropha.com

 

Tuesday, November 18, 2008

โบอิ้งเผยใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานบินได้ในอีก

ฮือา!โบอิ้งเผยเตรียมใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานเครื่องบินในอีก 3 ปี ข้างหน้า ด้านสายการบินดังรายอื่นยังสนับสนุนไอเดียนี้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ว่า นายดาร์ริน เมอร์แกน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมประจำโบอิ้ง เปิดเผยว่า คาดว่าเครื่องบินโบอิ้งจะสามารถใช้ไบโอดีเซลเป็นพลังงานในการบินได้ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารทั่วไปเป็นจำนวนหลายล้านคนทั่วโลกภายในระยะเวลา 3 ปี โดยเขาคาดว่าจะมีการรับรองเรื่องนี้เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาด โดยเครื่องบินไม่จำเป็นจะต้องปรับแปลงเครื่องใหม่ในการใช้พลังงานไบโอดีเซล ดังกล่าวแต่คาดว่าจะต้องนำมาผสมกับพลังงานอื่น ๆ ในสัดส่วนเฉลี่ย 30 % แต่หากจะใช้โบโอดีเซลเพียงอย่างเดียวจะมีปัญหาตรงที่ว่าโลกจะต้องผลิต พลังงานดังกล่าวให้ได้ปริมาณ 8,500 ล้านเคโรซีนต่อแกลลอนต่อปี

 

รายงานกล่าวว่า การเปิดเผยนี้มีขึ้นหลังมีการทดสอบหลายบริษัทสายการบินได้ทำการทดลองเช่นนี้ เช่น เวอร์จิ้น แอตแลนติก และโบอิ้ง ขณะที่แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ซึ่งเป็นสายการบินใหญ่ที่สุดของโลก ยังได้สนับสนุนการทดลองดังกล่าวด้วย

 

Monday, September 29, 2008

ลงทุนเอทานอลโคราชสะพัดหมื่นล. ดั๊บเบิ้ลเอโดดชิงเค้ก-เคไอเอทานอลรุกลงทุนเพิ่ม

ลงทุนเอทานอลโคราชสะพัดหมื่นล. ดั๊บเบิ้ลเอโดดชิงเค้ก-เคไอเอทานอลรุกลงทุนเพิ่ม

โคราช เนื้อหอมโรงงานเอทานอลพาเหรดลงทุน ยักษ์ใหญ่ "ดั๊บเบิ้ล เอ" ดักซื้อหัวมันสดแบบดาวกระจาย ลงทุนแห่งละ 60 ล้าน ด้าน "เคไอเอทานอล" ยื่นขอลงทุนเพิ่มอีก 300 ล้าน เร่งกำลังการผลิต 2 แสนลิตรต่อวันป้อนออร์เดอร์ ปตท.-บางจากฯ-เชลล์เท่าตัว ส่วน "ที พี เค" เดินหน้าก่อสร้างโรงงานต่อหลังชะลอช่วงนโยบายรัฐบาลไม่ชัดเจน ด้านอุตสาหกรรมจังหวัดเผยยังมีอีกหลายบริษัทหวังตั้งฐานผลิตที่โคราช เงินลงทุนสะพัดหมื่นล้าน



นายประวุฒิ ตั้งจรูญชัย อุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายและหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น จึงมีนักลงทุนสนใจเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในเขต จ.นครราชสีมาเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานเดินเครื่องผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเพียง 1 แห่ง คือ บริษัท เคไอ เอทานอล จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.พิมาย ผลิต เอทานอลจากกากน้ำตาล

โดยเดินเครื่องผลิตเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2550 มีกำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน ขณะนี้ยังได้ยื่นเรื่องขออนุญาตขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือ 100,000 ลิตร/วัน รวมเป็น 200,000 ลิตร/วัน คาดว่าพร้อมเดินเครื่องผลิตได้ภายในปลายปี 2552



นอก จากเคไอเอทานอลที่ยื่นเรื่องขยายการลงทุนแล้ว ยังมีอีก 1 โรงงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คือ บริษัท ที พี เค เอทานอล จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.ครบุรี ผลิต เอทานอลจากมันสำปะหลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงาน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องได้ภายในปี 2552 มีกำลังการผลิต 850,000 ลิตรต่อวัน ใช้งบฯลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทยังไม่แน่ใจนโยบายของรัฐบาลจึงชะลอการลงทุนออกไป แต่ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อไปแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ เอทานอล จำกัด ในเครือดั๊บเบิ้ล เอ ได้ยื่นเรื่องขอตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ภายใต้ชื่อโครงการโรงแป้ง ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็กที่ต้องการตั้งโรงงานดักซื้อมันปะหลังแบบดาวกระจาย ทั่วทุกอำเภอใน จ.นครราชสีมา โดยใช้งบฯลงทุนแต่ละแห่ง 50-60 ล้านบาท ตั้งเป้ารับซื้อหัวมันสดวันละ 200 ตัน ซึ่งโรงงานแต่ละจุดจะแปรรูปมันสำปะหลังให้เป็นแป้งหมาดแล้วส่งต่อยังแหล่ง ผลิตขนาดใหญ่ของกลุ่มดั๊บเบิ้ล เอที่ จ.ปราจีนบุรี เพื่อนำไปผลิตเอทานอลอีกต่อหนึ่ง

ทั้งนี้ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ เอทานอล จำกัด ได้ยื่นขออนุญาตไปแล้ว 1 แห่ง คือ ที่ อ.ด่านขุนทด คาดว่าอีกไม่นานจะมีการตั้งโรงงานแบบเดียวกันนี้ขึ้นที่ อ.ครบุรี อ.โชคชัย และ อ.หนองบุญมาก เพราะเป็นแหล่งที่มีมันสำปะหลังจำนวนมาก

ซึ่ง อุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้มีเงินลงทุนอุตสาหกรรม เอทานอลใน จ.นครราชสีมากว่า 1 หมื่นล้านบาท และคิดว่ายังมีอีกหลายบริษัทที่ยังไม่ได้เปิดเผยตัวเพราะต้องการรอความ ชัดเจนจากรัฐบาลก่อน เนื่องจากต้องใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาล เกรงว่าจะไม่คุ้มค่าการลงทุน

"วัตถุดิบที่ได้จากกากน้ำตาลนั้น ตนคิดว่าน่าจะเพียงพอเพราะมีโรงงานแม่เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบให้อย่างต่อเนื่อง ส่วนมันสำปะหลังหากมีความต้องการมาก ราคามันสำปะหลังก็จะสูงขึ้น จะเป็นไปตามกลไกตลาดเกษตรกรก็จะหันมาปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น และพื้นที่ในการปลูกพืชอย่างอื่นก็จะลดลงขึ้นอยู่กับราคา ส่วนจะกระทบกับตลาดแป้งหรือไม่ต้องรอดูว่าราคาจะเป็นอย่างไร เพราะหากราคาวัตถุดิบขึ้น ราคาแป้งก็คงจะต้องขึ้นตามไปด้วย" นายประวุฒิกล่าว

ด้านนายหัสดิน ขวัญคง ผู้จัดการ บริษัท เคไอเอทานอล จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทผลิตเอทานอลได้ไม่ทันความต้องการของตลาด จึงต้องมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัวของปริมาณที่มีอยู่ในขณะ นี้ ซึ่งตอนนี้ได้ยื่นเรื่องต่ออุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาแล้ว เพื่อขยายการลงทุนเพิ่มอีก 300 ล้านบาทจากครั้งแรกที่ลงทุนไปทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท โดยใช้วัตถุดิบกากน้ำตาลหรือโมลาสจากโรงน้ำตาลพิมาย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ คือ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด

ปัจจุบันโรง งานได้ส่งเอทานอลจำหน่ายให้กับผู้ค้าน้ำมันเท่านั้น ได้แก่ ปตท. จำนวน 1.2 ล้านลิตรต่อเดือน บางจากฯ 8 แสนลิตรต่อเดือน และเชลล์ 1 แสนลิตรต่อเดือน ขณะนี้ยังไม่พบปัญหาผลผลิตขาดตลาด เพราะยังมีเกษตรกรป้อนอ้อยเข้าสู่โรงงานแม่อย่างต่อเนื่อง

 

Tuesday, September 16, 2008

E85 ประเทศไทยได้อะไร

E85 ประเทศไทยได้อะไร

สำหรับ ท่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับ คำว่า "เอทานอล (E85)" ขออธิบายโดยย่อว่า เอทานอลก็คือ แอลกอฮอล์ 99.5% สำหรับผสมกับน้ำมันเบนซิน แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า แก๊สโซฮอล์ โดยตั้งชื่อสูตรน้ำมันตามอัตราส่วนที่ผสมเอทานอล เช่น แก๊สโซฮอล์ E10 ก็หมายถึง น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล 10% เป็นต้น

 

ประเทศไทยผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าการผลิตจากมันสำปะหลัง แต่ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการผลิตจากมันสำปะหลังมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตต่อไร่ของมันสำปะหลังสูงขึ้นมากในช่วงนี้ ปัจจุบันมีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตเอทานอลถึง 49 โรงงาน รวมกำลังการผลิตทั้งสิ้น 12.5 ล้านลิตรต่อวัน สามารถทดแทนการใช้ และการนำเข้าน้ำมันเบนซินประมาณ 50% โดยมีโรงงานที่สร้างเสร็จแล้วจำนวน 11 โรงงาน กำลังการผลิตอยู่ที่ 1.58 ล้านลิตรต่อวัน ความต้องการใช้เพียงวันละ 800,000 ลิตร บางโรงงานจึงต้องปิดตัวเอง บางโรงงานก็ลดกำลังการผลิต ปัญหาที่มากกว่านั้นก็คือ ยังมีโรงงานที่ทยอยสร้างเสร็จเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าในสิ้นปี 2551 จะมีกำลังการผลิต เอทานอล 2.3 ล้านลิตรต่อวัน และ 3.9 ล้านลิตรต่อวัน เมื่อสิ้นปี 2552 หากภาครัฐไม่มีการปรับแผนการส่งเสริมเอทานอล เช่น ยกเลิกเบนซิน 91 ก็อาจสร้างปัญหาใหญ่ให้กับผู้ผลิตเอทานอลอีกครั้ง ถึงแม้ว่าผู้ผลิตได้พยายามส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และยุโรป แล้วก็ตาม ใน 6 เดือนแรกของปีนี้ส่งออกเฉลี่ยวันละ 200,000 ลิตรเท่านั้น

 

มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้น้ำมัน E85 มีดังนี้

มติคณะรัฐมนตรี 3 มิถุนายน 2551

1. ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ E85 และไม่มีผลิตในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี

2. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E85 ลงเหลือร้อยละ 25, 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E20 ในปัจจุบัน

3. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตร จาก 3.6850 บาทต่อลิตร

 

มติคณะรัฐมนตรี 15 กรกฎาคม 2551

ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร (6 มาตรการ 6 เดือน)

 

ทั้งนี้เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ เพิ่มเสถียรภาพพลังงานด้านเชื้อเพลิงของประเทศ และส่งผลดีต่อชาวไร่อ้อย-มันสำปะหลัง

ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ก็คือ การลดการใช้เบนซินในประเทศ ไม่ใช่การลดการนำเข้าน้ำมันดิบ เนื่องจากประเทศไทยใช้น้ำมันดีเซลมากกว่าเบนซินถึง 2.5 เท่า ทำให้ต้องส่งออกน้ำมันเบนซินส่วนเกิน หรือนำไปใช้ในรูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดสมดุล การส่งเสริมการใช้ให้เอทานอลในน้ำมันเบนซิน ควรต้องทำไปพร้อม ๆ กับการผลิตและใช้ไบโอดีเซล จึงจะสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ประเทศไทยมีรถยนต์ใช้น้ำมันดีเซล 6 ล้านคัน ใช้ในกรุงเทพมหานครประมาณ 1.49 ล้านคัน และมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน 3.2 ล้านคัน ใช้ในกรุงเทพมหานคร 1.76 ล้านคัน นอกจากนี้ยังมีรถที่ใช้เชื้อเพลิงอื่น ๆ อีกประมาณ 400 คันทั่วประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยเราใช้เบนซินประมาณ 18-20 ล้านลิตรต่อวัน และใช้ดีเซลประมาณกว่า 40 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้น หากจะลดการนำเข้าน้ำมันจริง ๆ ก็คงต้องดำเนินแผนงานไปพร้อมกันทั้งเบนซิน และดีเซล

 

นอกจากนี้ยังมีความเห็นอื่น ๆ อีกจากหลากหลายหน่วยงาน ที่แสดงความเป็นห่วงในเรื่องการลดอัตราภาษี รถยนต์ E85 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราภาษี ECO CARS ซึ่งรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ผลิตในประเทศไทยก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นหากจะผลักดันรถยนต์ E85 จริง ๆ คงต้องคำนึงถึงความสมดุลของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งระบบ และสร้างความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการในรถแต่ละประเภท เพื่อไม่ทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวต่างชาติ

ในโอกาสต่อไป จะขอนำเสนอแนวทางการใช้ความได้เปรียบ ทางด้านภูมิศาสตร์ของประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งด้านพืชพลังงาน โดยยังดำรงความเป็นครัวของโลกอยู่เหมือนเดิม

Wednesday, July 16, 2008

แป้งมันล้นสต๊อกราคาดิ่ง ชาวไร่วัดดวงตลาดมันเม็ด

แป้งมันล้นสต๊อกราคาดิ่ง ชาวไร่วัดดวงตลาดมันเม็ด
โรง งานแป้งมันสำปะหลังเก็งสถานการณ์ผิด คาดราคาที่พุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจะสูงขึ้นต่อไป แห่ผลิตเก็บ
สต๊อกหวังโกยกำไรจนสินค้าล้นโกดัง แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันผู้ซื้อชะลอซื้อ ส่งผลราคาอ่อนตัวลงทั้งแป้งมันและหัว
มันสด ชาวไร่วัดดวงปลายปีราคาขึ้นหรือลงขึ้นกับตลาดมันอัดเม็ดและมันเส้น

นายทศพล ตันติวงษ์ ประธานบริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังรายใหญ่ เปิดเผยกับ "ฐาน
เศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังว่า ปกติแล้วช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผลผลิตหัวมันสดออกสู่ตลาดน้อย
เพราะไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยวหลัก ดังนั้นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังบางส่วนจึงหยุดโรงงานชั่วคราวเพื่อปรับ ปรุง
เครื่องจักร ส่วนที่ยังเดินเครื่องผลิตจะเดินประมาณ 50% เพราะฉะนั้นปริมาณแป้งมันสำปะหลังช่วงนี้จึงมีไม่มากและ
ราคาที่โรงงานขายได้ จะค่อนข้างสูง แต่ปรากฏว่าปีนี้กลับตรงกันข้ามเพราะแต่ละโรงงานมีสต๊อกแป้งมันสำปะหลังค่อน
ข้างมาก

"เหตุที่โรงงานมีสต๊อกแป้งมันมาก เนื่องจากปีที่ผ่านมาราคาดี สูงสุดถึงกก.ละ 12.75 บาท หรือหากส่งออกราคา
เอฟโอบี (ไม่รวมค่าขนส่ง) ตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากปกติโรงงานขายแป้งมันสำปะหลังได้สูงสุดกก.ละ 8.50 บาท ส่ง
ออกตันละประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับมีการคาดการณ์กันว่าราคาแป้งมันจะสูงขึ้นต่อไปอีก เพราะวัตถุดิบหัวมัน
สดจะถูกนำไปใช้ผลิตเอทานอล จึงทำให้ช่วงต้นฤดูที่หัวมันสดออกมากโรงงานจึงแข่งกันซื้อหัวมันสดและผลิต เป็นแป้งมัน
เก็บสต๊อกไว้ ทำให้เวลานี้แต่ละโรงงานมีสต๊อกเหลืออยู่มาก จึงส่งผลให้ราคาอ่อนตัวลง จากกก.ละ 12.50 บาท เหลือ
ประมาณกก.ละ 11 บาท"นายทศพลกล่าวและว่า

อย่างไรก็ดีในส่วนของผู้ใช้ ซึ่งได้คาดการณ์เหมือนกันว่าราคาแป้งมันสำปะหลังจะสูงขึ้นอีก จึงซื้อเข้าไป
เก็บสต๊อกจำนวนหนึ่งแล้วและเวลานี้ยังมีเพียงพอสำหรับใช้ใน อุตสาหกรรมอยู่ จึงชะลอซื้อ ประกอบกับภาวะราคาอ่อนตัว
จึงไม่รีบซื้อ เพราะโดยธรรมชาติของผู้ซื้อเมื่อราคาสินค้าอ่อนตัวจะชะลอเวลาซื้อออกไป เรื่อยๆ จนกว่าราคาจะลงต่ำ
สุด

นายทศพล กล่าวว่าราคาแป้งมันสำปะหลังที่อ่อนตัวลง ได้ส่งผลให้ราคาหัวมันสดอ่อนตัวลงตามไปด้วย โดยราคาหัว
มันสดเชื้อแป้ง 30% จากกก.ละ2.50 บาท ลงเหลือกก.ละ 2.25 บาท แต่ชาวไร่ไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะราคาดังกล่าวยัง
ถือว่าสูงอยู่ ประกอบกับไม่ใช่ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวหลักผลผลิตที่ออกไม่มากจึงไม่เดือดร้อน กันมาก

ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ราคาหัวมันสดในฤดูเก็บเกี่ยวหลักปลายปีนี้ ต้องขึ้นอยู่กับตลาดมันเส้นมันเม็ดซึ่งมี
ตลาดหลักอยู่ที่ยุโรปและจีนว่า สถานการณ์เวลานั้นจะเป็นอย่างไร เพราะโรงแป้งคงมีกำลังซื้อกันไม่มาก เนื่องจาก
สต๊อกยังเหลืออยู่มาก หากมันเส้นและมันเม็ดตลาดมีความต้องการสูง เกษตรกรคงไม่เดือดร้อน แต่ถ้าหากตลาดมันเม็ดไม่สด
ใสราคาหัวมันสดมีสิทธิ์อ่อนตัวลง

ด้านนายเจน วงศ์บุญสิน นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่าในส่วนของการส่งออกมันสำปะหลังอัดเม็ดและ
มันเส้น ครึ่งปีหลังผู้ส่งออกยังไม่กล้ารับออร์เดอร์เพราะต้องรอดูผลผลิตฤดูใหม่ของ ไทยว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ผล
ผลิตข้าวโพดของสหรัฐฯจะเป็นอย่างไร และสถานการณ์ทั้งผลผลิตและราคาธัญพืชของจีน เพราะเวลานี้จีนยังควบคุมราคา
ทุกอย่างจนกว่างานมหกรรมโอลิมปิก 2008 แล้วเสร็จ ส่วนตลาดนำเข้าคาดว่าทางยุโรปคงจะซื้อน้อยลง เนื่องจากผลผลิต
ธัญพืชดี ตลาดนอกยุโรป เช่นเกาหลี ไต้หวัน มีความต้องการบ้างแต่ไม่มาก

"การวางแผนการค้ามันเส้นและมันเม็ด คาดว่าเดือนกันยายนถึงจะตอบได้ชัดเจนว่าจะส่งออกได้มากน้อยเพียงใดและ
ราคา เป็นอย่างไร" นายเจนกล่าว

รัฐให้อี85ถูกกว่าเบนซินลิตรละ20บ. + แต่จะเกิดหรือดับขึ้นกับก.คลังยอมลดอากรขาเข้ารถยนต์หรือไม่

รัฐให้อี85ถูกกว่าเบนซินลิตรละ20บ. + แต่จะเกิดหรือดับขึ้นกับก.คลังยอมลดอากรขาเข้ารถยนต์หรือไม่
กระทรวง พลังงาน ดันอี 85 สุดลิ่ม ให้ส่วนต่างราคาถูกกว่าเบนซิน ออกเทน 95 ลิตรละ 20 บาท หลังกระทรวงการคลัง
ยอมลดภาษีสรรพสามิตลงอีกลิตรละ 2 บาท "พรชัย"เผย เตรียมนัดหารือกับค่ายรถยนต์ พร้อมนำเข้ารถยนต์อี 85 ไม่เกิน 3
เดือน ยันมีปั๊มรองรับแน่ แต่หากกระทรวงการคลัง ยังยืนกรานไม่ลดอากรขาเข้ารถยนต์ อย่าหวังอี 85 ได้เกิดทันในปีนี้

นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 85 เปิด
เผยว่า ขณะนี้ทางคณะกรรมการอยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียดทั้งหมด เพื่อรายงานต่อพล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการเชื้อเพลิงชีวภาพ รับทราบ หลังจากที่กระทรวงการคลังได้เสนอ
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบลดภาษีสรรพ สามิตน้ำมันอี 85 ลงจาก 2.57 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 0.55 บาทต่อลิตร
ประกอบกับการออกสเปกน้ำมันอี 85 ได้มีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

นอกจากนี้ ทางบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)(บมจ.) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)(บมจ.) มีความพร้อม
ที่จะเปิดสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันอี 85 ภายในระยะเวลา 3 เดือนนี้ ซึ่งจะเหลือเพียงการนัดหารือกับค่ายรถยนต์ว่าจะ
มีความพร้อมในการนำเข้ารถ ยนต์อี 85 ได้เมื่อใด และในปริมาณเท่าใด เพื่อทราบถึงปริมาณการใช้เอทานอลในช่วงแรก และ
เป็นข้อมูลที่จะวางเป้าหมายในการใช้เอทานอลต่อไป รวมถึงจะต้องไปหารือกับกระทรวงการคลังว่าจะสามารถลดหย่อนอากรขา
เข้านำเข้ารถ ยนต์อี 85 ได้หรือไม่ ซึ่งหากดำเนินการตามนี้ได้ จะสามารถได้เห็นรถยนต์อี 85 เข้ามาวิ่งในประเทศไทย
ได้

แหล่งข่าวจากระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการใช้อี 85 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทางคณะกรรมการเห็นชอบที่จะให้ราคาน้ำมันอีก 85 มีส่วนต่างจากน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ลิตรละ 17 บาทต่อลิตร
แต่ทั้งนี้ เมื่อมีความชัดเจนของกระทรวงการคลังที่จะปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันอี 85 จาก 2.57 บาทต่อลิตร มาอยู่
ที่ 0.55 บาทต่อลิตร ยิ่งจะส่งผลดีต่อโครงสร้างราคาน้ำมันอี 85 มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ราคาน้ำมันอีก 85 มีส่วนต่าง
จากน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 เพิ่มขึ้นอีกเป็น 19 บาทต่อลิตร ประกอบกับทางกระทรวงพลังงานจะนำเงินจากกองทุนน้ำมัน
เชื้อเพลิงมาชดเชยราคา น้ำมันอี 85 ให้อีกว่า 1 บาทต่อลิตร รวมทั้งหมดแล้วจะทำให้ราคาน้ำมันอี 85 มีส่วนต่างจาก
น้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ได้กว่า 20 บาทต่อลิตร ซึ่งจะจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้น้ำมันอี 85 เพิ่มมากขึ้น

ส่วนจะมีรถยนต์อี 85 นำเข้ามาเมื่อใดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับทางกระทรวงการคลังจะมีการพิจารณาลดหย่อนอากรนำ
เข้ารถยนต์อี 85 ได้หรือไม่ จากที่บริษัทรถยนต์ได้เสนอให้ลดหย่อนลงเหลือเพียง 60 % จากปกติที่จัดเก็บ 80 %

ทั้งนี้ แม้จะลดหย่อนอากรขาเข้ารถยนต์อี 85 ลงมาแล้วก็ตาม แต่ราคารถยนต์อี 85 จะยังสูงกว่ารถยนต์อี 20
เพียงเล็กน้อย แต่จุดนี้ไม่ใช่เป็นอุปสรรค เนื่องจากราคาน้ำมันอี 85 ที่มีส่วนต่างจากน้ำมันเบนซิน ออกเทน 85 ถึง
กว่า 20 บาทต่อลิตร จะจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์อี 85 ได้ เนื่องจากส่วนต่างของราคาน้ำมันอี 85 ที่ถูกกว่าจะ
ทำให้เกิดความคุ้มทุนกับราคารถยนต์ที่มีราคาแพงกว่าอี 20 ได้

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า เวลานี้การส่งเสริมการใช้อี 85 รายละเอียดการส่งเสริมทุกอย่างใกล้จะสมบูรณ์เกือบ
ทั้งหมดแล้ว ซึ่งจะมีการนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) พิจารณาในเร็วๆนี้ ซึ่งเหลือเพียงการพิจารณา
การลดหย่อนอากรขาเข้ารถยนต์อี 85 เท่านั้น หากกระทรวงการคลังไม่สามารถพิจารณาให้กับค่ายรถยนต์ได้ คาดว่า บริษัทรถ
ยนต์คงจะไม่นำเข้ารถยนต์อี 85 เข้ามา ซึ่งหมายความว่านโยบายที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันอี 85 จะไม่เกิด
ขึ้นในช่วงปีนี้ แม้ขั้นตอนการปฏิบัติจะเตรียมไว้พร้อมแล้วก็ตาม

Friday, July 11, 2008

'มาดามติ้ง'ดันสุดตัวอี85เกิด ถ่างราคาถูกกว่าเบนซิน17บ.

'มาดามติ้ง'ดันสุดตัวอี85เกิด ถ่างราคาถูกกว่าเบนซิน17บ.

ก.พลังงานกลัวหน้าแตก เร่งหามาตรการจูงใจเพิ่มให้ค่ายรถยนต์นำเข้าอี85 หลังรัฐบาลไม่สนข้อเรียกร้องยกเว้นอากรขาเข้า โดยจะดันราคาอี85 ให้ถูกกว่าเบนซิน17 บาทต่อลิตร ขณะที่ปตท.และมิตรผล พร้อมนำรถยนต์วอลโว่ อี85 มาทดสอบสร้างความเชื่อมั่นแล้ว ด้านเอกชนหนุนให้ออกมาตรการอี85 เป็นกฎหมายหวั่นนโยบายเปลี่ยน

พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงความคืบหน้าในการดำเนินการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ อี85 ว่า จากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมันอี85 ไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่จูงใจของบริษัทรถยนต์ โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ยุโรปที่เห็นว่ารัฐบาลควรจะยกเว้นภาษีอากรขาเข้าหรือลด หย่อนอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์อี85 ที่จะนำเข้ามา เพื่อให้เกิดตลาดในประเทศมากขึ้น

โดยในส่วนนี้กระทรวงพลังงานจะขอไม่พิจารณา เพราะเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง แต่จะไปดูว่าอะไรที่กระทรวงพลังงานทำได้ตามกรอบที่มติครม.ออกมา ก็จะไปดำเนินการ เพื่อให้เกิดการนำเข้ารถยนต์อี85 ในช่วงแรก

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลจะยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์อี85 คงจะเป็นเรื่องลำบาก เพราะจะเป็นการเสียหน้า แต่กระทรวงพลังงานจะหามาตรการอย่างอื่นมาดำเนินการเพื่อให้เกิดการจูงใจที่ จะมีการนำเข้ารถยนต์อี85 มาจำหน่าย ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ(สนพ.) อยู่ระหว่างการจัดทำโครงสร้างราคาน้ำมันอี85 อยู่ ซึ่งราคาที่ออกมาจะต้องจูงใจพอ เมื่อเทียบกับราคารถยนต์ที่แพงกว่ารถยนต์อี20 โดยจะมีการคำนวณอัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันอี85 ที่ 25 % เข้าไปในโครงสร้างราคาด้วย

อีกทั้งมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะมีการลดภาษีสรรพสามิตจากที่ครม.มีมติออกมา 2.5795 บาทต่อลิตรลงอีก เนื่องจากสัดส่วนของเอทานอลที่นำมาผลิตมีอยู่ถึง 85 % เมื่อเทียบกับการจัดเก็บภาษีน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 3.6850 บาทต่อลิตร หากพิจารณาตามสัดส่วนนี้จะทำให้เก็บภาษีลดลงเหลือเพียง 0.5528 บาทต่อลิตรเท่านั้น

ทั้งนี้ หากสามารถนำอัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันอี85 ที่ 25 % และการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันอี85 ลงอีกได้ และส่วนหนึ่งอาจจะนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาช่วยสนับสนุน คาดว่าจะทำให้ราคาน้ำมันอี85 มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ประมาณ 17 บาทต่อลิตรเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเชื่อว่าจะจูงใจผู้บริโภคให้หันมาซื้อรถยนต์อี85 และมีการนำเข้ารถยนต์อี85 ได้ แม้จะแพงกว่ารถยนต์อี20 ก็ตาม

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้คณะทำงานอยู่ระหว่างเร่งจัดทำรายการของชิ้นส่วนรถยนต์อี85 ที่จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้บริษัทรถยนต์มีความมั่นใจมากขึ้นในการตั้งสายการผลิตรถยนต์อี85 ในประเทศ เพราะออกมาล่าช้า จะทำให้บริษัทรถยนต์วางแผนลำบาก เพราะค่ายรถยนต์ยุโรปวางแผนที่จะผลิตได้ภายในอีก 1 ปี และค่ายญี่ปุ่นใน 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี



นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยถึงนโยบายการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี85 ว่า ในฐานะที่บมจ.ปตท.ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตและจำหน่ายน้ำมันอี85 นั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่จะซื้อรถยนต์อี85 เข้ามา ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2551 นี้ บมจ.ปตท.จะมีการนำเข้ารถยนต์อี 85 จากค่ายรถยนต์วอลโว่ประเภทเอฟเอฟอี รุ่นซี 30 ขนาดเครื่องยนต์ 1800 ซีซี ที่สามารถใช้น้ำมันตั้งแต่อี10 ขึ้นไป เข้ามาจำนวน 3 คัน ในราคาคันละประมาณ 2 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ทำการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันว่าจะเป็นอย่างไร ก่อนที่จะนำไปสู่การผลิตน้ำมันอี85 ว่าจะไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์แต่อย่างใด และเป็นทางออกของประชาชนในการเลือกซื้อรถยนต์ได้

ทั้งนี้ จะมีการทดสอบรถยนต์อี85 โดยจะใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ตั้งแต่อี10 อี20 ไปจนถึงอี85 ที่บมจ.ปตท.จะมีการผลิตออกมาเบื้องต้นใช้ทดสอบก่อน และหลังจากนั้นเมื่อกระทรวงพลังงานประกาศสเปกคุณภาพน้ำมันอี85 ออกมา และค่ายรถยนต์ยุโรปมีการนำเข้ารถยนต์อี85 มาจำหน่ายภายใน 3 เดือนข้างหน้า ทาง

บมจ.ปตท.ก็จะทำการทยอยเปิดสถานีบริการน้ำมันอี85 ที่เบื้องต้นวางไว้ 15 แห่งก่อนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งในส่วนของการจำหน่ายน้ำมันอี85 นี้ บมจ.ปตท.จะต้องลงทุนแห่งละ 2.6 ล้านบาท เพื่อทำการติดตั้งถังใต้ดินและระบบท่อจ่ายน้ำมันใหม่ทั้งหมด

ด้านนายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ได้ติดต่อกับบริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย)ฯ เพื่อรอการนำรถยนต์วอลโว่ รุ่น เอส 80 เกียร์ออโต้ ที่ใช้น้ำมันอี85 จำนวนหนึ่ง เข้ามาให้ระดับผู้บริหารใช้ประมาณปลายปีนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์

โดยที่ผ่านมาบริษัทได้มีการนำคอนเวอร์ชันคิตไปติดตั้งในรถยนต์ฮอนด้าซีวีค และรถยนต์โตโยต้า ร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อทดลองการใช้น้ำมันอี85 ในรถยนต์ดังกล่าว ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์แต่อย่างใด ซึ่งช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้ส่วนหนึ่ง

ด้านนายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพ

โทรกรีน จำกัด กลุ่มบริษัทมิตรผลฯ ผู้ผลิตและจำหน่ายเอทานอล กล่าวเสริมว่า ขณะนี้บริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย)ฯ นำรถยนต์วอลโว่ รุ่น C30 เครื่องยนต์อี85 มาทดลองใช้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา เพื่อดูความเป็นไปได้ในการนำรถยนต์อี85 มาใช้จริงในประเทศไทย โดยจะศึกษาเกี่ยวกับอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน กำลังเครื่อง สภาพและความเหมาะสมของอุปกรณ์เชื้อเพลิงในรถยนต์ ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมาพบว่า เครื่องยนต์มีสมรรถนะดี ไม่ได้มีอัตราสิ้นเปลืองกว่ารถที่เติมน้ำมันปกติมากดังที่หลายคนคาดการณ์ และยังไม่พบปัญหาใดๆในการทดลองใช้รถอี85 อย่างไรก็ตาม จะสรุปผลอีกครั้งเมื่อรถวิ่งครบ 100,000 กิโลเมตรตามที่ตั้งเป้าไว้

"การทดสอบน่าจะแล้วเสร็จประมาณสิ้นปี 2551 โดยต้องการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน รวมทั้งสร้างความมั่นใจว่า การใช้น้ำมันอี85 จะไม่เกิดผลเสียต่อเครื่องยนต์ ไม่ทำให้เกิดปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้ จะมีการนำรถมาใช้งานจริงในกลุ่มมิตรผล เช่น การใช้รับส่งผู้บริหาร และมีแผนขยายการทดลองไปยังรถยี่ห้ออื่นๆ ในตลาดด้วย ถ้าการศึกษาประสบความสำเร็จก็จะนำไปสู่การปรับเครื่องยนต์รถที่สามารถ เปลี่ยนมาใช้อี85 ได้ ซึ่งเชื่อว่าต้นทุนการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้อี85 นั้น ไม่น่าจะสูงกว่าการติดตั้งก๊าซแอลพีจี คือประมาณ 20,000 บาท แต่ก็ต้องรอผลการศึกษาก่อนว่าจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง" นายประวิทย์กล่าว

ส่วนความเคลื่อนไหวของภาคเอกชนในเรื่องนี้นั้น เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมาชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ" อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย"โดยนายธิบดี หาญประเสริฐ ประธานชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ และรองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทนเอทานอล-ไบโอดีเซลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการจัดเสวนาครั้งนี้ ต้องการให้รัฐบาลมีความชัดเจนก่อนว่าเอทานอลจะเดินหน้าไปอย่างไร อี85 จะมีกระบวนการอย่างไร และควรจะผลักดันให้ออกมาเป็นกฎหมาย เพราะแม้จะมีมติครม.ในการส่งเสริมออกมา แต่หากมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ อาจจะทำให้นโยบายนี้ถูกยกเลิกไป ทำให้ค่ายรถยนต์ที่มีความพร้อมและเตรียมตัวผลิตรถยนต์อี85 เกิดความสูญเสียทั้งเงินลงทุนและโอกาส ในขณะที่การจัดโครงสร้างราคาแก๊สโซฮอล์ อี 10 อี20 และอี85 ควรจะให้มีส่วนต่างจากราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 4 บาทต่อลิตร 6 บาทต่อลิตร และ15 บาทต่อลิตรตามลำดับ

ด้านน.อ. ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ยังขาดในบ้านเราคือเรื่องกฎหมาย กรณี อี85 ตอนนี้เหมือนมือหนึ่งไปทางหนึ่ง อีกมือไปอีกทาง เหมือนคนกำหนดนโยบายยังไม่รู้และเข้าใจจริงๆ

ขณะที่นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า การเลือกส่งเสริม อี85 นั้นมาถูกทางแล้ว แต่ปัญหาคือ กฎหมายยังกำหนดให้เอทานอล ต้องขายให้โรงกลั่นน้ำมันอยู่ ดังนั้นเราต้องเปิดเสรีการขาย ภาพการผสมน้ำมันกับเอทานอลต้องเปลี่ยน เราอาจจะตั้งโรงงานผสมที่หัวเมือง ให้ใกล้โรงเอทานอล หรือเปิดให้ผู้ค้าเอทานอลสามารถเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้ ไม่อย่างนั้นการขนส่งเอทานอล 85% ไปให้ผู้ผลิตน้ำมัน ค่าขนส่งต้องเพิ่มขึ้น

Tuesday, July 8, 2008

E 85 ต้องถูกกว่า 13-14 บาท

E 85 ต้องถูกกว่า 13-14 บาท

ใน อีกเวทีหนึ่งของการสัมมนา "E 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย" จัดโดยชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการกล่าวถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ของการส่งเสริมให้มีน้ำมันแก๊สโซ ฮอล์ E 85 ทั้งในเรื่องของวัตถุดิบ คือ เอทานอล อุตสาหกรรมรถยนต์ ไปจนถึงกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในมุมมองของ

นายธิบดี หาญประเสริฐ รองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทน เอทานอล-ไบโอดีเซล แห่งประเทศไทย เชื่อว่า เป็นเรื่องที่ต้องเร่งส่งเสริมความพร้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในด้านเทคโนโลยีนั้นมีอยู่แล้ว ไทยไม่ใช่ชาติแรกที่ทำในเรื่องนี้ แต่ช้าไปด้วยซ้ำ ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายมีความพร้อม แต่วันนี้อาจจะมีความพร้อมที่ไม่เท่ากันเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่า

นอก จากนี้รัฐต้องชัดเจนในเรื่องของการส่งเสริม เนื่องจากบางเรื่องที่ "อนุมัติ" ออกมาเป็นเพียงมติคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ใช่กฎหมายที่บังคับใช้ได้ ในระดับนโยบายจึงกลับไปกลับมา ควรกำหนดเป้าหมายของเรื่อง E 85 ให้ชัด เช่น สหรัฐ มีการวางเป้าหมายชัดเจนว่า จะมีการผลิตเอทานอลรวมในปี 2022 ประมาณ 350 ล้านลิตร/วัน ฉะนั้นหากภาครัฐจะเดินหน้าเรื่องนี้ควรกำหนดกรอบให้ชัดเจน

นาวา เอก ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า การส่งเสริมใช้เอทานอลมีการส่งเสริมในประเทศมากว่า 10 ปี แต่วันนี้ภาพรวมการใช้ยังน้อยเพราะขาดเรื่องกฎหมายที่จะออกมาบังคับใช้ เชื่อว่าหากมีการส่งเสริมการใช้ E 85 ราคาน้ำตาลจะถูกลงด้วยซ้ำ ส่วนกรณีที่พืชพลังงานจะไปแย่งพืชเพื่อการบริโภคนั้นเชื่อว่า "ไม่เป็นความจริง"

ภายหลังจากการส่งเสริมผลิตเอทานอล ราคามันสำปะหลังขยับขึ้นไปร้อยละ 60 ราคาปาล์มช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ราคาขึ้นไปร้อยละ 58 การส่งเสริมพืชพลังงานถือเป็นการช่วยเกษตรกร และที่สำคัญวันนี้ไทยนำเข้าพลังงานกว่าร้อยละ 80 ในขณะที่ต้นแบบเอทานอลอย่างบราซิลที่มีการใช้ E 100 ไม่ต้องนำเข้าและไม่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันมากนัก หากเราส่งเสริม เอทานอลแล้ว เมื่อเกษตรกรไทยเจริญแล้ว สังคมไทยจะดีขึ้นตามมา

ด้าน นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผูผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า หากส่งเสริมให้มีการใช้ E 85 ภายในปีนี้นั้น จะมีกำลังผลิตเอทานอลทั้งโรงเก่าและโรงงานใหม่ที่จะเปิดดำเนินการผลิตภายใน ปีนี้รวม 49 โรงงาน กำลังผลิตเอทานอลทั้งหมดถือว่ารองรับได้ เพราะวันนี้มีการผลิตจาก 11 โรง รวมกำลังผลิต 1.575 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่มีความต้องการใช้จริงเพียงร้อยละ 50 หรือที่ 700,000-800,000 ลิตร/วันเท่านั้น

ปัจจุบันมีรถที่ใช้น้ำมันปกติอยู่ที่ 20 ล้านลิตร/วัน แบ่งเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 10/ E 20 ประมาณ 800,000 ลิตร/วัน และหากมีการใช้ E 85 คาดจะมีการใช้อยู่ที่ 10.2 ล้านลิตร/วัน หากทุกโรงงานเอทานอลที่ได้รับอนุมัติไปแล้วรวม 49 โรงงาน เริ่มผลิตจะมีปริมาณเอทานอลรวม 12.385 ล้านลิตร/วัน รองรับ E 85 ได้ไม่มีปัญหา สำหรับราคา E 85 ควรมีราคาต่างจากน้ำมันเบนซินปกติ "ไม่ต่ำกว่า" 13-14 บาท/ลิตร

นายมานะ ฤทธิชัยสมาจาร นายกสมาคมชาวไร่อ้อยสี่แคว นครสวรรรค์ และประธานสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อย

สี่ แคว กล่าวว่า การส่งเสริม E 85 ถือว่าภาครัฐมาถูกทาง เพราะทุกวันนี้มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในประเทศจะถึงระดับ 50 บาท/ลิตรได้ไม่ยาก ฉะนั้นจึงต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ศักยภาพวันนี้สามารถผลิตพืชพลังงานได้สูง วันนี้ประเทศสามารถผลิตน้ำตาลได้ 7.8 ล้านตัน แบ่งเป็น เพื่อการบริโภค 2 ล้านตัน ฉะนั้นเหลืออีกประมาณ 5 ล้านตัน ที่สามารถมาใช้เพื่อผลิตพลังงาน

ด้าน ดร.วิจิตร ศรียรรยงวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชพลังงานทดแทนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบาย E 85 ถือเป็นทางเลือก เรามีทั้งวัตถุดิบและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จะรองรับ ภายใต้ราคาน้ำมันสูงขณะนี้เราต้องพึ่งพาตัวเอง แต่ทั้งนี้ต้องมองถึงผลกระทบที่จะส่งไปยังโรงกลั่นน้ำมันด้วย ปริมาณน้ำมันเบนซินที่ 17 ล้านลิตร/วัน จะทำอย่างไร ซึ่งกระทรวงพลังงานต้องเข้ามาดูแลด้วย

ส.ส.มะกันติดดาบฟันนักเก็งกำไรน้ำมัน หลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ และนักเก็งกำไร เป็นสาเหตุที่ดันราคาน้ำมันให้พุ่งสูง

บลูมเบิร์ก รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กเริ่มปรับลดลงจากระดับสูงสุดครั้งใหม่ 140.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐลงคะแนนสนับสนุนร่างกฎหมายที่ระบุให้คณะ กรรมาธิการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ (CFTC) สามารถใช้อำนาจจำกัดบทบาทในการเก็งกำไรในตลาดสัญญาล่วงหน้าพลังงานได้
โดยส.ส.มะกันผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 402 ต่อ 19 และร่างกฎหมายจะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป

มาร์ก เพอร์แวน" นักกลยุทธ์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มองว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ราคาปรับลดลง โดยการจำกัดการเก็งกำไรอาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลดลง

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันงวดส่งมอบเดือนสิงหาคมร่วงลง 1.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 138.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
การ ดำเนินการดังกล่าวของ ส.ส. เกิดขึ้นหลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ และนักเก็งกำไร เป็นสาเหตุที่ดันราคาน้ำมันให้พุ่งสูง

แก๊สโซฮอล์ อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย

แก๊สโซฮอล์ อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย

รายงาน

ใน ช่วงที่วิกฤตน้ำมันกำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่างพยายาม หาทางออกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และล่าสุดรัฐบาลได้มีมติในการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานแก๊สโซฮอล์ อี 85 ในเมืองไทย

ทางชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ (The Coalition for Energy Sustainability and Security for Thailand-ESST) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนที่สามารถผลิตหมุนเวียนได้ในประเทศ ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ "อี 85 อนาคตพลังงานชาติ ทางเลือก ทางรอดของไทย" เพื่อหาบทสรุปของอี 85 ว่า จะเป็นทางรอดจริงๆ หรือไม่ มีปัญหาในด้านใดบ้าง ผลิตเอทานอลได้เพียงพอหรือเปล่า ผลประโยชน์ลงไปที่เกษตรกรจริงๆ หรือไม่ อย่างไร

อี 85 ราคาไม่ควรเกิน 15 บาท

นายธิบดี หาญประเสริฐ ประธานชมรมพลังงานไทยทำ ไทยใช้ และรองประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทดแทน เอทานอล-ไบโอดีเซล แห่ง

ประเทศ ไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีสิ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับแก๊สโซฮอล์ว่า อี 10 มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าเบนซินธรรมดาอยู่ที่ 2-3% ทั้งนี้ขึ้นกับขนาด เครื่องยนต์รถและพฤติกรรมการขับรถ ซึ่งอี 20 มีอัตราสิ้นเปลืองมากกว่าอยู่ที่ 6% ส่วนอี 85 อยู่ที่ 26% ซึ่งทุกที่ในโลกยอม รับว่าแก๊สโซฮอล์ให้อัตราการสิ้นเปลือง มากกว่าจริง แต่สิ่งที่คนไม่พูดถึงคือประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง แก๊สโซฮอล์ให้กำลังและแรงบิดที่มากกว่าเบนซินธรรมดา 3%

ในเรื่อง ของสิ่งแวดล้อมและคุณสมบัติทางเคมี เมื่อผสมเอทานอลเข้าไป แรงดันการระเหยมีจริง แต่เมื่อผสมเข้าไปมากขึ้นสิ่งนี้จะต่ำลง และช่วยลดสัดส่วนของ อิมมิชั่นมากขึ้น

หากจะจัดโครงสร้างราคาให้ เหมาะสม สำหรับแก๊สโซฮอล์ อี 10, อี 20 และ อี 85 ควรอยู่ที่ 4 บาท 6 บาท และ 15 บาทตามลำดับ (เทียบจากราคาเบนซิน 95 อยู่ที่ 40 บาทต่อลิตร)

ใน ส่วนของรถจักรยานยนต์นั้น สามารถใช้ อี 10 ได้แน่นอน เพราะส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะหมดแล้ว ส่วนแก๊ส โซฮอล์ประเภทอื่นๆ ทั้ง อี 20, อี 85 หรือแม้กระทั่ง อี 100 สามารถใช้ได้โดยการปรับตั้งเครื่องยนต์ และหากใช้ อี 85 ในจักรยานยนต์ จะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมได้มาก เพราะควันขาวของจักรยานยนต์มีอันตรายยิ่งกว่าควันดำของรถบรรทุกอีก

ใน ส่วนของค่ายรถยนต์นั้น เรื่องเทคโนโลยีเอทานอล หรืออี 85 บริษัทรถยนต์หลายรายต่างรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไร เพราะขณะนี้มีที่บราซิล และหลายประเทศก็เริ่มไปแล้ว

สำหรับเมือง ไทยเราเน้นส่งเสริมเรื่องการประกอบรถยนต์ในประเทศ จึงต้องดูเรื่องความพร้อมเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ในการผลิต ซึ่งแต่ละบริษัทใช้เวลาสั้นยาวต่างกัน ในช่วงเริ่มแรกคงต้องนำเข้าก่อน ซึ่งรัฐคงต้องดูเรื่องความสมดุลตรงนี้ให้ดี เพราะถ้าไปถามบริษัทรถยนต์จะได้คำตอบที่ไม่เหมือนกันทุกที่ สำคัญที่สุดคือ นโยบายรัฐต้องชัดเจนก่อน

ส่วนกรณีของบริษัทยักษ์ใหญ่นั้น ในฐานะที่ได้คลุกคลีกับบริษัทเหล่านี้มาตลอด ยืนยันได้เลยว่าเอาด้วยแน่ แต่ต้องขอเวลาหน่อย ดังนั้นในเมื่อแต่ละค่ายพร้อมไม่เท่ากัน รัฐต้องกำหนดกติกาที่เป็นธรรมกับ ทุกคน ในส่วนของวัสดุเราพร้อมอยู่แล้ว อย่างน้อย 6 เดือน หรือปีหนึ่งถึงจะเกิดได้

"โดยส่วนตัวเชื่อว่า ต้องสร้างที่ดีมานด์ก่อน หากรัฐกำหนดเป็นกฎหมาย เกษตรกรก็จะกล้าปลูก กล้าทำกัน เมื่อทุกคนลงไปเล่น การวิจัยพัฒนา การส่งเสริมก็จะเพิ่มมากขึ้น อ้อยอาจไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ แต่เพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งถ้าจะเพิ่มผลผลิต ก็ต้องทำให้ดีมานด์มีพอกัน ไม่งั้นก็เหลือ"

ในเรื่องของอีโคคา ร์กับอี 85 นั้น แรกเริ่มอีโคคาร์กำหนดสเป็กไว้ที่ 20 ก.ม./ลิตร แต่อี 85 สิ้นเปลืองกว่าเบนซิน 25-30% จึงเป็นได้ยากที่จะทำตัวเลขเท่านั้นได้ ถ้ามองในแง่การตลาดของบริษัทรถยนต์ในเชิงลึก แม้จะได้รับการอนุมัติโครงการไปแล้ว แต่ถ้าบริษัทจะปรับมาใช้อี 85 ก็สามารถทำได้ เพราะน้ำมันราคาถูกกว่า สรุปว่าถ้าปรับมาใช้ได้ก็ยิ่งดี

เสนอแยกกฎหมายเอทานอลโดยเฉพาะ

นาย สิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคม ผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ข้อสงสัยในเรื่องที่ว่า เราจะมีเอทานอลเพียงพอต่อการผลิตอี 85 หรือเปล่า ในส่วนของผู้ผลิต เอทานอลแล้ว ถ้ามีการผลิตครบทุกโรงงาน จาก 49 โรงงาน ต้องบอกว่าพอและเหลือด้วย

ทั้งนี้ในสภาพความเป็นจริงแล้ว โรงกลั่น ผู้ผลิตรถ ผู้ใช้รถ ต้องไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันนี้ 11 โรงงานผลิตได้ 1.575 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งที่ความต้องการในประเทศยังแค่ 7 ลิตรต่อวันเท่านั้นเอง ดังนั้นเราจึงต้องส่งขายทางอื่นด้วย

"ต้องบอก ว่า การเลือกส่งเสริมอี 85 นั้นมาถูกทางแล้ว แต่ปัญหาคือ กฎหมายยังกำหนดให้เอทานอล ต้องขายให้โรงกลั่นน้ำมันอยู่ ดังนั้นถ้าเราต้องเปิดเสรีการขาย ภาพการผสมน้ำมันกับเอทานอลต้องเปลี่ยน เราอาจจะตั้งโรงงานผสมที่หัวเมือง ให้ใกล้โรงเอทานอล หรือเปิดให้ผู้ค้าเอทานอลสามารถเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ได้ ไม่อย่างนั้นการขนส่งเอทานอล 85% ไปให้ผู้ผลิตน้ำมัน ค่าขนส่งต้องเพิ่มขึ้น"

หากราคาเบนซิน 95 อยู่ที่ 40 บาทต่อลิตร ถ้าตั้งราคาอี 85 ที่ 25 บาท การจะทำให้อี 85 ไปรอด น่าจะอยู่ที่โครงสร้างราคาเอทานอล โครงสร้างราคาที่ว่าหมาย รวมถึงสัดส่วนของราคาของแต่ละภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตน้ำมัน ผู้ขายน้ำมัน โครงสร้างราคาต้องได้รับการกำหนดอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนการจัดเก็บภาษี 2.575 บาทต่อลิตร สำหรับเอทานอล นั้น ในเมื่อรัฐบาลบอกว่าภาษีของเอทานอลที่ใช้เชื้อเพลิงไม่เก็บก็ควรลดลงมาอยู่ ที่ 0.55 บาท

ทั้งนี้ หากจะจริงจังกับอี 85 รัฐต้องดูแลพื้นที่การปลูกพืชไร่ให้ดี จัดการให้ทุกสิ่งทุกอย่างลงตัว รวมทั้งเรื่องกฎหมายจัดการ เอทานอลยังไม่มีชัดเจน เพราะเอทานอล ยังถือว่าอยู่ในหมวดสุรา จึงมีกรมสรรพสามิตดูแล เป็นไปได้ควรมีกฎหมายเกี่ยวกับเอทานอลโดยเฉพาะ

ชี้เอทานอลช่วยเกษตรกรไทยฟื้น

นาย มานะ ฤทธิชัยสมาจาร นายกสมาคมชาวไร่อ้อยสี่แคว นครสวรรค์ และประธานสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อย สี่แคว ในฐานะตัวแทนผู้ผลิตอ้อย คิดว่า อี 85 เป็นทางรอดแน่นอน ในส่วนของ ภาคเกษตรกร ผลที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตร คือเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาวิกฤต ของประเทศ เป็นการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสใน 2 ด้าน ทั้งทางด้านพลังงานและเกษตร

" อ้อยเป็นพืชพลังงานตัวจริง ไม่มีผลกระทบต่อเรื่องอาหารแน่นอน เราผลิตน้ำตาลในไทย 7.8 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 2 ล้านตัน ที่เหลือส่งออก เป็นอันดับที่ 3 ของโลก แต่ตัวเกษตรกรจน และมีหนี้อยู่ 24,000 ล้านบาท แต่อี 85 จะเป็นโอกาสที่ดีของเรา เป็นการบริหารอุปทานส่วนเกินที่มีอยู่ ถ้าเราผลิตเอทานอลได้ตรง ผลิตน้ำมันได้ตรง ก็ไม่ต้องขนส่งไปขนส่งมา เป็นโอกาสที่ดีจริงๆ ของการแก้ไขเรื่องพลังงาน แก้ไขปัญหาความยากจน เรื่องพืชผลทางการเกษตรด้วย"

ทั้งนี้ รัฐบาลควรนำบทเรียนในบราซิล มาศึกษาดู ไม่ควรมองมิติเดียวว่าทำ อย่างไรให้พลังงานราคาต่ำลง รัฐต้องมองด้วยว่า ภาคอื่นจะอยู่ได้ไหม ต้องดูท่อน้ำ ตั้งแต่ต้นจนถึงปลาย ประชาชน ผู้ผลิตเอทานอล ราคาต้นทุนวัตถุดิบเป็นอย่างไร สำหรับบราซิลส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลให้เกิดก่อน แต่ผมมองว่า ให้ประชาชนอยู่บน ฐานสามเหลี่ยมด้านซ้ายเป็นผู้ผลิตเอทานอล ฐานขวาเป็นเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย อยากให้รัฐบริหารสามเหลี่ยมด้านเท่านี้ให้สมดุล น่าไปรอดแน่นอน

ระบุอนาคตปั๊มต้องขายเชื้อเพลิงเฉพาะ

นาย มนูญ ศิริวรรณ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากมีอี 85 เข้ามา ประเด็นเรื่องเครื่องยนต์ยังไม่เป็นปัญหามากนัก สถานีบริการน่าจะเป็นข้อจำกัด มากกว่า เพราะปั๊มต้องเปลี่ยนถังใหม่เลย แต่ในอนาคตแต่ละปั๊มจะจำหน่ายครบทุกผลิตภัณฑ์ไม่ได้ จึงต้องให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในย่านนั้น และแปรผันตามลักษณะของลูกค้าในภูมิภาค ไม่จำเป็นต้องลงทุนเปลี่ยนถังถ้าไม่จำหน่าย อี 85 ทั้งนี้ขึ้นกับการขยายตัวของอี 85 ด้วยว่าไปได้เร็วแค่ไหน ซึ่งคิดว่าคงไม่เร็วนักเหมือนอี 20 ตอนนี้ที่ค่อยๆ ขยายไป

อีกทาง เลือกหนึ่ง คือการผสมเอทานอล 5% แล้วบังคับเป็นกฎหมายให้เป็นเบนซินหลักเหมือนดีเซล B5 ก็อาจจะช่วยได้ เรื่อง อี 100 ในมุมของยานยนต์น่าที่จะพัฒนามาเป็นอี 85 เพราะห่วงเรื่องการสตาร์ต เนื่อง จากต้องอาศัยเชื้อเบนซินอยู่หน่อย ถ้าจะใช้ อี 100 ก็ทำได้ แต่ต้องมีรายละเอียด และอาจจะมีค่ายรถยนต์บางค่ายที่ยังไม่พร้อม แต่อี 85 จะค่อนข้างพร้อมทุกบริษัท

ทั้งนี้ การเริ่มทำอี 85 ทุกคนมีจุดที่เจ็บตัวเหมือนกันทั้งนั้น โรงกลั่นต้องกลั่นน้อยลง แต่ในแง่เทรดเดอร์ก็ต้องใช้เงินซื้อ เอทานอลน้อยลง เพราะถูกกว่าน้ำมันดิบ แต่เรื่องการผลิตก็ต้องดูกันไป

สรุปคืออี 85 อาจจะเป็นทางเลือกไปก่อนในช่วงแรกๆ แต่ถ้าราคาน้ำมันขึ้นไปเรื่อยๆ อี 85 คงเป็นทางรอดของพวกเรา ทุกคน

SCANIA รถบรรทุกใช้พลังงานจากเอทานอลคันแรกในยุโรป

รถบรรทุกใช้พลังงานจากเอทานอลคันแรกในยุโรป

รถบรรทุกพลังงานสะอาด-รถ บรรทุกใช้พลังงานจากเอทานอลคันแรกในยุโรป เริ่มออกวิ่งครั้งแรกบนถนนเมื่อ 2 ก.ค. ในเมืองดาสเบิร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์ รถบรรทุกคันนี้ใช้พลังงานเชื้อเพลิงเอทานอล มีคุณสมบัติปล่อยก๊าซพิษต่ำ และไม่ก่อมลพิษในสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรม จับมือพลังงาน กดดันคลังลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 ลงมาอีก จาก 2.5795 บาท/ลิตร ให้เหลือ 0.55

อุตสาหกรรม จับมือพลังงาน กดดันคลังลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 ลงมาอีก จาก 2.5795 บาท/ลิตร ให้เหลือ 0.55 บาท/ลิตร อ้างเพื่อจูงใจให้ค่ายรถ-ผู้บริโภคหันมาใช้รถ E 85 กันมากขึ้น ด้านสุวิทย์ คุณกิตติบอกรัฐต้องยอมเฉือนรายได้บ้าง หาไม่แล้วE85ไม่เกิด

กระทรวงอุตสาหกรรมจับมือกระทรวงพลังงาน กดดันกระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 ลงมาอีก จาก 2.5795 บาท/ลิตร ให้เหลือ 0.55 บาท/ลิตร อ้างเพื่อจูงใจให้ค่ายรถ-ผู้บริโภค หันมาใช้รถ E 85 กันมากขึ้น ด้าน "สุวิทย์ คุณกิตติ" บอกกรมสรรพสามิตต้องยอมเฉือนรายได้รัฐออกไปบ้าง หาไม่แล้ว E 85 ก็ไม่เกิด

หลังจากที่ ครม.ได้มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมันเบนซินที่ มีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 85 หรือ E 85 ในวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ด้วยการ 1)ยกเว้นภาษีนำเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ E 85 ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นอุปกรณ์หลักและไม่มีการผลิตในประเทศเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 3 ปี 2)ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E 85 ลงเหลือร้อยละ 25, 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ คือ ไม่เกิน 2000 ซีซี มากกว่า 2000-2500 ซีซี และมากกว่า 2500-3000 ซีซี ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E 20 ในปัจจุบัน

และ 3)ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 ลงเหลือ 2.5795 บาท/ลิตร จากที่จัดเก็บอยู่ 3.6850 บาท/ลิตร หรือลดลง 1.1055 บาท/ลิตร โดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทผู้ค้าน้ำมันมองว่า มาตรการภาษีของกระทรวงการคลังข้างต้นยังไม่จูงใจทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ในการ ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ E 85 และขอให้กระทรวงการคลังให้การสนับสนุนและปรับลดอัตราภาษีลงมาอีก

ล่าสุด ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้าในการหารือระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 ว่า การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงเหลือ 2.5795 บาท/ลิตรนั้น ยังไม่เกิดแรงจูงใจพอ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงพลังงานจึงเสนอให้กระทรวงการคลังลดอัตราภาษี สรรพสามิตน้ำมัน E 85 ลงมาให้เหลือเพียง 0.55 บาท/ลิตร

"การปรับปรุงโครงสร้างของอัตราภาษีน้ำมันเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ในแง่มุมของกระทรวงการคลังในฐานะที่ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ให้รัฐบาล เห็นว่าหากมีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงไปมากๆ เพื่อจูงใจให้คนหันไปใช้น้ำมัน E 85 ในอนาคตรัฐบาลจะจัดเก็บงบประมาณได้น้อยลง นอกจากนี้ยังต้องมองในเรื่องของความสิ้นเปลืองและค่าความร้อนด้วย เท่าที่ทราบรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน E 85 จะมีอัตราการบริโภคพลังงานมากกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไป ดังนั้นการกำหนดอัตราภาษีที่อัตราลิตรละ 2.5795 บาทจึงคำนวณมาจากค่าประสิทธิภาพความร้อนที่ 70% ของอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ลิตรละ 3.685 บาท" ร.ต.หญิงระนองรักษ์กล่าว

ด้านแหล่งข่าวจากกรมสรรพสามิต เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อเสนอให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 ที่ราคาลิตรละ 0.55 บาท ของกระทรวงพลังงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น เป็นการเรียกเก็บเฉพาะ "เนื้อเบนซิน" ร้อยละ 15 ในขณะที่เอทานอล ร้อยละ 85 ได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีอยู่แล้ว แต่ในมุมมองของกรมสรรพสามิตเห็นว่า ทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมัน E 85 ก็คือ "สินค้าสำเร็จรูปประเภทหนึ่ง ไม่ได้คิดแยกส่วน"

และถ้าพิจารณาในแง่การสิ้นเปลืองพลังงานแล้ว รถที่ใช้ E 85 จะบริโภคน้ำมัน "มากกว่า" 30% ยกตัวอย่างเช่น รถที่ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไปมีอัตราการสิ้นเปลืองที่ 10 KM/ลิตร แต่ถ้าเป็นรถที่ใช้ E 85 จะมีอัตราการสิ้นเปลืองอยู่ที่ 7 KM/ลิตร เพราะฉะนั้นการกำหนดอัตราภาษีที่ลิตรละ 2.5795 บาท จึงคำนวณมาจากอัตราการบริโภคที่ 70%

ขณะที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวยืนยันกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รัฐบาลควรจะส่งเสริมการใช้น้ำมัน E 85 ด้วยการจัดโครงการสร้างภาษีน้ำมันให้เหมือนกับน้ำมัน E 10 และ E 20 กล่าวคือ ต้องลดภาษีในส่วนที่เอทานอลผสมอยู่ ยกตัวอย่าง ถ้าน้ำมัน E 10 มีเอทานอลผสมอยู่ในเนื้อน้ำมันเบนซิน 10% ก็ได้ลดภาษี 10% หรือ E 20 มีเอทานอลผสมอยู่ในเนื้อน้ำมันเบนซิน 20% ก็ได้ลดภาษี 20% ในกรณีเดียวกัน ถ้าน้ำมัน E 85 มีเอทานอลผสมอยู่ในเนื้อน้ำมันเบนซิน 85% ก็ควรจะได้รับการยกเว้นภาษี 85% เช่นเดียวกัน

ในกรณีของการลดภาษีน้ำมัน E 85 แม้จะทำให้กระทรวงการคลังเหลืออัตราภาษีที่เก็บอยู่ 15% ก็ไม่ควรมองว่าจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้เพียงอย่างเดียว ต้องมองถึงผลประโยชน์ด้านอื่นที่เกิดขึ้นด้วย เช่น ทำให้ประเทศไทยสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศได้ ลดการสูญเสียเงินออกนอกประเทศและเงินที่อยู่ภายในประเทศก็เป็นส่วนที่จะลงไป ช่วยสนับสนุนเกษตรกร เศรษฐกิจรากหญ้า ให้มีความเข้มแข็ง เงินหมุนเข้ามาสู่ในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

"การจัดโครงสร้างภาษีข้างต้นถือว่ามีความเป็นธรรมและเป็นการผลักดันให้ น้ำมัน E 85 เกิดขึ้นได้ แม้รัฐบาลจะสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีไปบ้าง แต่ผลประโยชน์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นก็สามารถจะชดเชยกันได้ และบางทีอาจจะมากกว่ารายได้ที่สูญเสียด้วยซ้ำ" นายสุวิทย์กล่าว

นอกเหนือจากปัญหาเรื่องโครงสร้างภาษีแล้ว ในส่วนของน้ำมัน E 85 ยังมีปัญหาอื่นๆ ด้วย เช่น ค่าขนส่งเอทานอลที่จะส่งมาให้กับบริษัทน้ำมัน ซึ่งเป็นเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้ โรงงานผลิตเอทานอลสามารถซื้อน้ำมันเบนซินมาผสมกับเอทานอลกลายเป็นน้ำมัน E 85 จะสามารถประหยัดต้นทุนได้ หรือข้อกำหนดที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายเอทานอลภายในประเทศ หรือการส่งออกเอทานอลที่จะต้องมีการขออนุญาตทุกลอต ในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงให้มีความสะดวกมากขึ้น

มีรายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า กระทรวงการคลังจะนัดกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม มาหารือถึงข้อเสนอการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E 85 อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งการขยายรายการชิ้นส่วน/อุปกรณ์รถยนต์ E 85 ที่จะได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีขาเข้าด้วย

Sunday, June 15, 2008

น้ำมันกระฉูดดันยอดใช้ก๊าซพุ่ง “สุวิทย์” บี้ลด สรรพสามิตเอทานอลแจ้งเกิดอี 85

น้ำมันกระฉูดดันยอดใช้ก๊าซพุ่ง "สุวิทย์" บี้ลด สรรพสามิตเอทานอลแจ้งเกิดอี 85

นายเมตตา  บันเทิงสุข  อธิบดี กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย.คาดว่าบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อาจต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มจาก ต่างประเทศอีกประมาณ 40,000 ตัน ในราคาตันละ 900 เหรียญสหรัฐฯและนำมาจำหน่ายในประเทศโดยที่ ปตท.ต้องรับภาระแทนประชาชนประมาณ 800 ล้านบาท สาเหตุที่ยอดการนำเข้าก๊าซหุงต้มของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะถูกนำไป ใช้ใน 3 ด้านคือ 1. ใช้ในภาคขนส่ง 2. ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และ 3. มีการลักลอบนำออกไป ตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นปัญหาที่กรมศุลกากรต้อง เข้มงวดกวนขันการลักลอบอย่างหนัก

 

นายเมตตากล่าวว่า สาเหตุที่ก๊าซหุงต้มถูกลักลอบออกไปขายในประเทศเพื่อนบ้านเพราะว่าราคาขายปลีกขนาดถัง 15 กิโลกรัมในไทยอยู่ที่ 290 บาท แต่หากลักลอบออกไปขายในประเทศเพื่อน บ้านจะมีราคาที่ 800 บาทต่อถัง อย่างไรก็ตาม ธพ. ได้ร่วมมือกับกรมศุลกากรตั้งหน่วยเฉพาะกิจสกัดการลักลอบส่งออกก๊าซหุงต้ม ด้วยการใช้มาตรการที่เข้มข้น จึงเชื่อว่าการลักลอบส่งออกจะเริ่มลดลงในระดับหนึ่ง

 

"หาก รัฐบาลประกาศลอยตัวราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มสำหรับภาคขนส่งในเดือน ก.ค.เป็นต้นไป ก็จะทำให้ยอดการใช้ก๊าซหุงต้มแอลพีจีในรถยนต์ ลดลง เพราะรถยนต์ส่วนหนึ่งจะหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์หรือเอ็นจีวีแทน ซึ่งต้องรอดูว่า รัฐบาลจะลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดส่วนต่างราคาให้คนหันไปใช้เอ็นจีวี โดย ขณะนี้ราคาเอ็นจีวีอยู่ที่ลิตรละ 8.50 บาท และก๊าซหุงต้มอยู่ที่ลิตรละ 10 บาท"

 

นาย ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับ กิจการพลังงาน (เรกกูเลเตอร์) เปิดเผยถึงการพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) งวดใหม่ที่จะใช้ในเดือน มิ.ย.-ก.ย.นี้ว่า เรกกูเลเตอร์มีมติเห็นชอบการเรียกเก็บค่าเอฟทีอยู่ที่ 62.85 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลงจากงวดก่อนหน้า 6.01 สต./หน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนรอบใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 2.88 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับประชาชน เนื่องจากค่าไฟฟ้าถือเป็นส่วนหนึ่งของ ต้นทุนหลายชนิด ทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรมและ สินค้าเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน

 

ขณะ เดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้แจ้งว่าผู้ค้าน้ำมันได้แจ้งปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันมีผลตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.โดยผู้ค้ารายอื่นๆ ยกเว้น ปตท. และบางจากได้ปรับขึ้นราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมัน เบนซิน 50 สตางค์/ลิตร และดีเซล 80 สต./ลิตร ส่วน ปตท.และบางจากปรับขึ้นเฉพาะดีเซล 80 สต./ลิตร ส่งผลให้ราคาเบนซิน 95 ของเชลล์สูงถึง 42.39-43.39 บาท/ลิตร เอสโซ่ 42.09 บาท/ลิตร คาลเท็กซ์ 41.59 บาท/ลิตร ส่วนของ ปตท.และบางจากอยู่ที่ 41.59 บาท/ลิตร

 

ส่วนเบนซิน 91 รายอื่นๆที่ 40.99 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 ที่ 37.39 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 ที่ 36.59 บาท/ลิตร โดย ปตท.และบางจากขาย ถูกกว่ารายอื่น 50 สต./ลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลรายอื่นๆอยู่ที่ 42.14 บาท/ลิตร ปตท.และบางจากถูกกว่า 80 สต./ลิตร อยู่ที่ 41.34 บาท/ลิตร ทั้งนี้ แม้จะปรับ ขึ้นราคารอบนี้แล้วแต่ปรากฏว่าค่าการตลาดน้ำมันของผู้ค่าน้ำมันก็ยังต่ำอยู่ ทำให้มีแนวโน้มว่าในระหว่างวันที่ 14-15 มิ.ย. นี้ผู้ค้าน้ำมันอาจปรับขึ้น ราคาขายปลีกเบนซินและดีเซลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

 

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกฯและ รมว. อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันเอทานอล 85 หรืออี 85 ตามมติ ครม.ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเพราะมีรายละเอียดหลายอย่างที่ต้องขอความเห็นชอบ จากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งจากกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังในเรื่อง ของประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับอี 85 รวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิตของเอทานอล ซึ่งทั้งหมดรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กระทรวง ควร ต้องตั้งโต๊ะหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการเพื่อกำหนดนโยบายให้เกิดข้อยุติที่ชัดเจนเพื่อทำให้การส่งเสริมอี 85 เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

"เรื่องอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเอทานอล ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะช่วยดึงดูดให้คนหันมาใช้อี 85 ได้มากขึ้น แต่ปัจจุบันโครงสร้างภาษีน้ำมันอี 10, อี 20 หรืออี 85 ยังมีความลักหลั่นกันมาก หากกรมสรรพสามิตปรับภาษีอี 85 ให้เท่ากับอี 10 หรือคิดเฉพาะภาษีน้ำมันอย่างเดียวจะทำให้มีส่วนต่างเพิ่มขึ้นถึง 2.02 บาทต่อลิตร ก็จะยิ่งช่วยสร้างแรงดึงดูดให้มากขึ้น".